
ขั้นตอนการเตรียมการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
1. ดู ก.พ.7 ครองตำแหน่งวิทยฐานะปัจจุบัน วัน เดือน ปี อะไร ? ได้รับคำสั่งแต่งตั้งเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษวันที่ 13 มีนาคม 2561 และต้องดำรงตำแหน่งปัจจุบันเป็นเวลา 3 ปี จึงจะสามารถยื่นขอเลื่อนตำแหน่งเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญได้ มีนาคม 2565 > คลิก คำสั่งแต่งตั้งเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ 13 มีนาคม 2562> คลิก
แต่ถ้าดำรงตำแหน่งชำนาญการถึงปัจจุบันไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถขอเลื่อนวิทยฐานะเป็นเชี่ยวชาญได้เช่นกัน (คำสั่งแต่งตั้งเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการ มกราคม 2553) > คลิก
2. คำนวณ / ตั้งเป้าหมาย วัน ที่มีคุณสมบัติหรือ วัน ที่ตั้งใจจะขอเลื่อน วิทยฐานะ เพื่อนับ รอบปี แต่ละปี สำหรับ เตรียม วฐ 1( เกี่ยวข้องกับการ วางแผนเก็บชั่วโมงอบรมและ pIc)
3. เมื่อตั้งเป้าหมายวันที่จะยื่นขอเลื่อนขอ วิทยฐานะได้แล้วก็มา ดูว่า เราต้องประเมินผล การปฏิบัติงาน 13 ตัวชี้วัด ใน วฐ 2 ปีการ ศึกษาไหนบ้าง
4. จัดเตรียมเอกสาร ตาม 13 ตัวชี้วัด แล้วทำ วฐ 2 ประเมินตัวเอง แล้วยื่นขอรับการประเมินทุก สิ้นปีการศึกษา กรอกผลประเมินแต่ละปี ลงไป ใน วฐ 3 เก็บผลประเมินไว้ที่ตนเอง / รร (ย้าย ไปไหนก็หอบผลประเมินไปด้วยไม่ต้องกังวล)
5. เมื่อครบ 5 ปี ที่มีคุณสมบัติ/วันที่พร้อม วางแผนไว้แต่ตันก็ยื่น วฐ 1 วฐ2 วฐ 3 (ที่เรา เก็บไว้ทุกปี) แจ้ง รร ไปว่าเราจะขอเลื่อน วิทยฐานะ ที่เหลือ รร จะตรวจสอบจัดส่ง เอกสารเอง
6. ป.ล. การทำ วฐ1 ตั้งเบ้าหมายยื่นวันไหน ก็ต้องยื่นวันนั้น หากเลื่อนวัน ข้อมูลก็เลื่อนตาม อาจมีผลกระทบ ต่อชั่วโมงต่าง ๆ ที่เราเก็บ และอาจขาดคุณสมบัติ > มกราคม 2566
7. คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ สายงานนิเทศการศึกษา (30 ก.ย.52) > คลิก
การประเมินด้านที่ 1
ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
(สำหรับทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ)
1. องค์ประกอบการประเมิน
การประเมินด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น 5 ตอน จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตอนที่ 1 การมีวินัย ( 20 คะแนน ) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี (20 คะแนน) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ( 20 คะแนน ) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ( 20 คะแนน ) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ( 20 คะแนน ) มีจำนวน 5 ตัวบ่งชี้
2. เกณฑ์การให้คะแนน กำหนดให้มีเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับคุณภาพ 4 ระดับ
3. เกณฑ์การตัดสิน วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ต้องได้คะแนนจากกรรมการทั้งสามคนเฉลี่ย
ตอนที่ 1 การมีวินัย ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 1.1 การมีวินัยในตนเอง ยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม หมายถึง การมีวินัยในตนเอง การยอมรับและถือปฏิบัติตามกฎ กติกา มารยาท ขนบธรรมเนียม และแบบแผนอันดีงามของสังคม การเป็นแบบอย่างที่ดี และการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างการพัฒนาด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ 1.2 การรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการรักษาและเสริมสร้างวินัยในตำแหน่งหน้าที่ราชการ การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ การมีส่วนร่วมเสริมสร้างวินัยแก่ผู้อื่น และผลงานเป็นที่ปรากฏเป็นแบบอย่างที่ดี
ตัวบ่งชี้ 1.3 การตรงต่อเวลา การอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องหมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จและอุทิศเวลาอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ 1.4 ความซื่อสัตย์ สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการ และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การรักษาผลประโยชน์ของทางราชการและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การได้รับการยกย่อง ชมเชย
ตัวบ่งชี้ 1.5 การรักษาความสามัคคี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน องค์กร และชุมชน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการมีน้ำใจ เสียสละ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับจากหน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 2 การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ความอุตสาหะ ขยัน อดทน มุ่งมั่นและรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงานโดยยึดหลักประหยัด คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ มีผลงานปรากฏชัดเจน และนำไปพัฒนาผู้อื่นได้
ตัวบ่งชี้ 2.2 การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธาและปฏิบัติตนตามหลักศาสนา หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม มีความศรัทธา และปฏิบัติตนตามหลักศาสนา เป็นแบบอย่างที่ดีได้รับการยกย่องชมเชย และมีส่วนร่วมและเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ 2.3 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ยืนหยัด กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการยึดมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามหลักนิติธรรม ได้รับการยกย่อง ชมเชย และมีการรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ 2.4 การยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และวางตัวเป็นกลางทางการเมือง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้สิทธิและหน้าที่ตามระบอบประชาธิปไตยการมีส่วนร่วมส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การวางตัวเป็นกลางทางการเมืองและการวางรากฐานระบอบประชาธิปไตย
ตัวบ่งชี้ 2.5 การมีส่วนร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การมีกิจกรรมที่ได้จัดหรือมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและสิ่งแวดล้อม
ตอนที่ 3 การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 3.1 การดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึงการมีพฤติกรรม/กิจกรรม ที่แสดงถึงการดำรงชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวบ่งชี้ 3.2 การละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้ละเว้นอบายมุขและสิ่งเสพติด และเป็นผู้นำรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ 3.3 การใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้หรือให้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลและของทางราชการได้ถูกต้องเหมาะสม และพัฒนาผู้อื่นในเรื่องดังกล่าวได้
ตัวบ่งชี้ 3.4 การดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี เหมาะสมกับสถานภาพและตำแหน่งหน้าที่ การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมเสริมสร้างพัฒนาผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ 3.5 การประหยัด มัธยัสถ์ อดออม หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการประหยัด มัธยัสถ์ อดออม ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตเป็นที่ปรากฏ การได้รับการยกย่องชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
ตอนที่ 4 ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 4.1 การเป็นสมาชิกที่ดี สนับสนุนหรือร่วมกิจกรรมของวิชาชีพและทางวิชาการอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง การมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพและวิชาการ การนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ การได้รับการยกย่อง ชมเชย และการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่นโดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ตัวบ่งชี้ 4.2 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้พัฒนางานในวิชาชีพ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ ๆ นวัตกรรมในการพัฒนางานในวิชาชีพจนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
ตัวบ่งชี้ 4.3 การมีบทบาทเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพ หมายถึง การมีบทบาทการเป็นผู้นำทางวิชาการในวงการวิชาชีพในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเสริมสร้างผู้อื่น และมีผลงานปรากฏ
ตัวบ่งชี้ 4.4 การรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพและการยกย่องเชิดชูเกียรติ หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรม ที่แสดงถึงการรักษาชื่อเสียง ปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ และการยกย่องเชิดชูเกียรติที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกิดผลดีเป็นที่ยอมรับและการมีส่วนร่วมรณรงค์และเสริมสร้างผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ 4.5 การเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเป็นผู้นำในการเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคมผลงานที่ปรากฏ และการได้รับการยกย่อง ชมเชย
ตอนที่ 5 ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 5 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
ตัวบ่งชี้ 5.1 การเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน หมายถึง การมีพฤติกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ ถ่ายทอดความรู้ หรือส่งเสริมการแสวงหาความรู้โดยไม่บิดเบือน ปิดบัง หวังสิ่งตอบแทน และเกิดผลดีต่องานในหน้าที่และได้รับการยกย่อง โดยมีผลงานปรากฏอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ 5.2 การเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน หมายถึง การมีพฤติกรรม/โครงการ/กิจกรรมที่แสดงถึงการเอาใจใส่ช่วยเหลือผู้เรียนและผู้รับบริการเต็มความสามารถตามหลักวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เท่าเทียมกัน โดยระบุชื่อกิจกรรมดังกล่าวด้วย
ตัวบ่งชี้ 5.3 การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ นวัตกรรมในการพัฒนางานในหน้าที่ หมายถึง การศึกษา ค้นคว้า ริเริ่ม สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรม ในการพัฒนางานในหน้าที่จนสำเร็จและเป็นตัวอย่างได้
ตัวบ่งชี้ 5.4 การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผน พฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ การได้รับการยกย่อง ชมเชย ในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา/คุรุสภา/องค์กรภายนอก/หน่วยงานอื่น
ตัวบ่งชี้ 5.5 การมีจิตอาสา จิตสาธารณะ และมุ่งประโยชน์ส่วนรวม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงการให้การช่วยเหลือ หรือให้ความร่วมมือแก่ส่วนรวมอย่างทุ่มเทและเสียสละจนสำเร็จเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม และได้รับการยกย่อง
แนวทางการเก็บเอกสารหลักฐาน ผลงาน เกียรติบัตร ภาพถ่าย อื่นๆ ฯลฯ ตามแบบประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนครู แบบใหม่ ว6/2562
ตามหนังสือที่ส่งถึง สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไปเพื่อทราบและถือปฏิบัติ นั้น ก.ค.ศ. พิจารณาแล้ว เพื่อให้การประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ จึงมีมติดังนี้
1. ยกเลิกแบบบันทึกการประเมินแนบท้ายแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสายงานตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
2. แก้ไข คำชี้แจงและแบบประมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกสายงาน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ในการนี้ จึงให้ใช้คำชี้แจงและแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่รอบการประเมินปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 เป็นต้นไป
แนวทางการเก็บเอกสารหลักฐาน ผลงาน เกียรติบัตร ภาพถ่าย อื่นๆ ฯลฯ ตามแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แบบใหม่ ว 6/2562
ตอนที่ 1 การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน
ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
เอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– เอกสารหลักสูตรโรงเรียน รวมถึงรายวิชาที่สอน
– เอกสารการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชาที่สอน
– เอกสารโครงสร้าง หน่วยการเรียนรู้รายวิชาที่สอน
– เอกสารคำสั่งพัฒนาโรงเรียน และเอกสารการวิเคราะห์หลักสูตร
– เอกสารแบบประเมินหลักสูตร
– เอกสารแผนการสอน
– เอกสารการนิเทศการสอน รวมถึงนิเทศแผนการสอน
– การนิเทศการสอนแบบคู่สัญญา Buddy Supervision
– เอกสาร ปพ.5 แบบบันทึกคุณภาพผู้เรียน
– วิจัย นวัตกรรม
ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน
2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน และการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– เอกสารชั้นเรียนต่าง ๆ
– แบบ ปพ. แบบประเมินผู้เรียน
– หลักสูตรสถานศึกษาพร้อมคู่มือการใช้หลักสูตร คู่มือกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องตามระดับชั้น
– แผนการจัดการเรียนรู้
– คู่มือแนวทางการวัดและประเมินผล
– หลักฐานการวัดและประเมินผล
– หลักฐานการสอนซ่อมเสริม
– งานวิจัยในชั้นเรียน
– การจัดเก็บเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
– ตารางการจัดการเรียนรู้
– ตารางเวรทำความสะอาดห้องเรียน
– มุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ มุมหนังสือ, มุมนันทนาการหรือมุมสบาย, ข้อตกลงประจำห้องเรียน, มุมสุขภาพที่แสดงผลงานนักเรียน, ชั้นวางสิ่งของ นักเรียน, การตกแต่งบรรยากาศในห้องเรียนคำวัญ, สมุดข้อมูล, บันทึกการตรวจสุขภาพบันทึก ตารางน้ำหนักส่วนสูง
– ป้ายแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบรายบุคคลและแบบสรุปรวมป้ายนิเทศ, ป้ายชื่อครูประจำชั้นป้ายชั้นเรียน, ป้ายแสดงการมาเรียนประจำวันของนักเรียน, ชื่อสมาชิกในชั้นเรียน
– สัญลักษณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
– วันเดือนปีปฏิทินหรือปฏิทินปฏิบัติงาน
– เอกสารประจำวิชา
– แบบ ปพ. แบบประเมินผู้เรียน
– หลักสูตรสถานศึกษาพร้อมคู่มือการใช้หลักสูตร คู่มือกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องตามระดับชั้น
– แผนการจัดการเรียนรู้
– คู่มือแนวทางการวัดและประเมินผล
– หลักฐานการวัดและประเมินผล
– หลักฐานการสอนซ่อมเสริม
– งานวิจัยในชั้นเรียน
– การจัดเก็บเอกสารประกอบการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน
– ตารางการจัดการเรียนรู้
– ตารางเวรทำความสะอาดห้องเรียน
– มุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ มุมหนังสือ, มุมนันทนาการหรือมุมสบาย, ข้อตกลงประจำห้องเรียน, มุมสุขภาพที่แสดงผลงานนักเรียน, ชั้นวางสิ่งของ นักเรียน, การตกแต่งบรรยากาศในห้องเรียนคำวัญ, สมุดข้อมูล, บันทึกการตรวจสุขภาพบันทึก ตารางน้ำหนักส่วนสูง
– ป้ายแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบรายบุคคลและแบบสรุปรวมป้ายนิเทศ, ป้ายชื่อครูประจำชั้นป้ายชั้นเรียน, ป้ายแสดงการมาเรียนประจำวันของนักเรียน, ชื่อสมาชิกในชั้นเรียน
– สัญลักษณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
– วันเดือนปีปฏิทินหรือปฏิทินปฏิบัติงาน
– เอกสารประจำวิชา
ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
3.1 การพัฒนาตนเอง
เอกสารที่เกี่ยวข้อง มีดังนี้
– เอกสารแผนพัฒนาตนเอง (Id plan)
– เอกสารรวบรวมเกียรติบัตร
– เอกสารบันทึกการศึกษาเอกสารวิชาการ
– เอกสารบันทึกการค้นคว้า
– เอกสารการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR)
– เอกสารชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community : PLC)
– เอกสารการเผยแพร่ผลงาน และหนังสือขอบคุณต่าง ๆ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง - คู่มือการขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๔) > คลิก (คุณธรรมที่พึงประสงค์สำหรับสังคมไทยเพื่อนำสู่ความเป็น “มนุษย์ที่สมบูรณ์” ๔ ประการ คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา”) - การดำเนินการทางวินัย > คลิก - ข้อกำหนดเรื่องวินัย > คลิก - การปฎิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ > คลิก - การรายงานด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา > คลิก - วินัยและการรักษาวินัยที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พึงปฏิบัติและห้ามปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมาย > คลิก - ปฏิบัติตนเรื่องการแต่งกายของข้าราชการ > คลิก - คู่มือการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการปฏิบัติตามระเบียบ กฏเกณฑ์ รู้จักกาละเทศะ และเคารพสิทธิผู้อื่น สำหรับสถานศึกษา โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ > คลิก ครูดีไม่มีอบายมุข ปีที่ 9 (2562) - หนังสือแจ้งเรื่อง > คลิก - โครงการ > คลิก - คำชั้แจง > คลิก - ใบสมัคร > คลิก โครงการโรงเรียนดีไม่มีอบายมุข ปีที่ 4 (2562) > คลิก - ใบสมัคร > คลิก โครงการศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดิน > คลิก การคัดเลือกบุคคลและหน่วยงานเพื่อรับรางวัลพระพฤหัสบดี > คลิก (มิ.ย.-ก.ค.) ตัวอย่าง รางวัลต่าง ๆ (ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ครูดีในดวงใจ ครูผู้สอนดีเด่น คุรุสดุดี รางวัลพระพฤหัสบดี obecawards) > คลิก - เลือกตั้งนายก อบจ./ ส.อบจ. ราชบุรี (20 ธันวาคม 63) > คลิก - รำลึกพระปิยะ ปี 2563 > คลิก - ถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว ปี 2563 > คลิก - ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน > คลิก - ร่วมโครงการโครงการเครือข่ายครูดีของแผ่นดินฯ > คลิก - ร่วมโครงการศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดินฯ > คลิก - รวบรวม แนวปฏิบัติ ข้อคิด-ข้อเขียน เพื่อใช้ในการศึกษาทบทวนพิจารณาตนเองในการปรับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ และส่งเสริมกับบุคคลอื่นตามโอกาสอันสมควร > คลิก - สนับสนุน ส่งเสริม สร้างขวัญกำลังใจ ร่วมแสดงความยินดี > คลิก - เสริมสร้าง ปลูกจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม (ปลูกฝัง รณรงค์ สนับสนุน ส่งเสริม) > คลิก - การศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเอง คลิก - นำงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ @ การวิจัยและพัฒนารูปแบบกลไกการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา > คลิก @ การพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดร.ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และคณะ) > คลิก - ศึกษาและปฏิบัติตนตามโครงการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส สพป.นครปฐม เขต 2 เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร > คลิกการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใส(เอกสารคู่มือ/แนวทางการดำเนินกิจกรรม โครงการโรงเรียนสุจริต) > คลิก การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร > คลิก การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี(2562) > คลิก การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต > คลิก - ปฏิบัติตนตามมาตรการของ สพป.นครปฐม เขต 2 มาตรการป้องกัน-covid > คลิก มาตรการประหยัดพลังงาน สพป.นฐ.2 > คลิก มาตรการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ > คลิก มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม > คลิก มาตรการส่งเสริมความโปร่งใส่ในการจัดซื้อจัดจ้าง > คลิก มาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต > คลิก มาตรการป้องกันการรับสินบน > คลิก มาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนร่วม (ผลประโยชน์ทับซ้อน) > คลิก มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ > คลิก แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต > คลิก แผนปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สพป.นครปฐม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 > คลิก ได้รับรางวัลศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดินระดับพื้นฐาน โครงการศึกษานิเทศก์ดีของแผ่นดิน (8 กรกรฎาคม 2563) วันที่ 10 ตุลาคม 2563 เป็นเจ้าภาพสวดสายประคำ เพื่อเทิดเกียรติพระแม่มารีย์ ที่วัดนักบุญเทเรซา ห้วยกระบอก อ.บ้านโป่ จ.ราชบุรี เนื่องในโอกาสเดือนแม่พระแห่งสายประคำ ซึ่งคริสตศาสนิกชนทุกโบสถ์จะมารมตัวกันเพื่อร่วมสวดสายประคำ และขอพรพระแม่ กำหนดการสวดสายประคำจะเริ่มวันที่ 1 และสิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี เส้นทางมหาพรต ปี ค.ศ. 2020 ✝ 26 ก.พ. 2020 : พุธรับเถ้า ✝ 5 เม.ย. 2020 : อาทิตย์ใบลาน ✝ 9 เม.ย. 2020 : พฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ✝ 10 เม.ย. 2020 : ศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ ✝ 11 เม.ย. 2020 : เสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ✝ 12 เม.ย. 2020 : อาทิตย์ปัสกา ร่วมสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีลอยกระทง โดยส่งเสริมบุตรทั้ง 2 ให้รู้จักการขอขมาและขอพรต่อพระแม่คงคาที่หล่อเลี้ยงชีวิตเหล่าสรรพสัตว์และมนุษย์ นอกจากนี้ ยังได้มีการประชาสัมพันธ์ และได้ร่วมลอยกระทงออนไลน์ ผ่านทางเวปไซต์ทางสื่อสังคมออนไลน์ (face book) เพื่อร่วมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีวันลอยกระทง และเพื่อลดมลภาวะต่างๆ และความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ และเพื่อเป็นการรณรงค์การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม / การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยอย่างต่อเนื่องและเป็นที่ประจักษ์ ![]() | 21 กุมภาพันธ์ 2563 แสดงเจตจำนงบริจาคดวงตา โครงการดวงตาสดใส เทิดไท้ 84 พรรษามหาราชินี และบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยเพื่อเป็นพระราชกุศล > คลิก วันที่ 18 มกราคม 2563 ชุมนุมยุวธรรมฑูตและนักเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลราชบุรี "ลูกต้องอยู่ในบ้านพระบิดาของลูก" ณ วัดอัครเทวดามีคาแอล ดอนกระเบื้อง วันที่ 4 มกราคม 2563 วันที่ 25 ธันวาคม 2562 ให้ความร่วมมือกับวัดนักบุญเทเรซา โดยส่งเสริมให้บุตรทั้งสองคนเข้าร่วมกิจกรรมในวันคริสต์มาส เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะจิตอาสา ร่วมกิจกรรมทางศาสนา เสริมสร้างสุนทรีย์ทางอารมณ์แก่บุตร-ธิดา ณ ศาสนสถาน วัดนักบุญเทเรซา ห้วยกระบอก อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี > คลิก วันที่ 26 ธันวาคม 2562 เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติตามพื้นฐานวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมองค์กร กราบเคารพผู้ใหญ่ ผู้บังคับบัญชา เนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ วันที่ 27 ธันวาคม 2562 ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเทพวิทยา โดยส่งเสริมให้บุตรทั้งสองคนเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงในวันคริสต์มาสของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะจิตอาสา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย เสริมสร้างสุนทรีย์ทางอารมณ์ ณ โรงเรียนเทพวิทยา อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี > คลิก วันที่ 28 ธันวาคม 2562 ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย โดยชักชวนบุตร-หลานและคนในครอบครัว เข้าชมงานกิจกรรมสาธิตและนิทรรศการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม เนื่องในงานมหาธีรราชเจ้ารำลึก มหกรรมวัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม ครั้งที่ 18 ประจำปี 2563 ณ กองอำนวยการ องค์พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม |