โครงการในความรับผิดชอบ

การแบ่งปันความรู้ : องค์กรแห่งการเรียนรู้
( Knowledge Sharing : Learning Organization )

มุ่งมั่นพัฒนาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
สู่องค์การแห่งความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

        ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามตัวชี้วัดของแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ที่ 138 /2564 ลว. 8 มิถุนายน 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบาย กลยุทธ์ ตามตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานผลการติดตาม ประเมินผลการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564  
    กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
    ตัวชี้วัดที่ 10 ร้อยละของครูสอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับการพัฒนาและยกระดับความรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ระดับการพัฒนาทางด้านภาษา (CEFR) ตามเกณฑ์ที่กำหนด 
    ผู้จัดเก็บและรายงานข้อมูลเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. น.ส.บุญสุพร เพ็งทา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ประธานกรรมการ
2. น.ส.เกริน ช้อยเครือ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กรรมการและเลขานุการ
    ตัวชี้วัดที่ 11 ร้อยละของสถานศึกษาที่สอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ในการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA  
    ผู้จัดเก็บและรายงานข้อมูลเข้าระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. น.ส.บุญสุพร เพ็งทา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล ประธานกรรมการ
2. น.ส.นาฏลดา ภู่ประเสริฐ ศึกษานิเทศก์ กรรมการ
3. น.ส.เกริน ช้อยเครือ ศึกษานิเทศก์ กรรมการและเลขานุการ 


โครงการในความรับผิดชอบ

ปี พ.ศ. 2564

@ โครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้ > คลิก
กิจกรรมที่ 1 พัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
    - จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
    - จัดทำสื่อ e-Learning เพื่อบริการความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา > คลิก 
    - รายงานผลการดำเนินงาน ของแต่ละกลุ่มงาน/กลุ่มสาระ/กลุ่มความรู้
    - สรรหา Best Practice ของแต่ละกลุ่มงาน/กลุ่มสาระ/กลุ่มความรู้ 
    - Learning Culture Playbook > คลิก

มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ

        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุ่งเน้นหลักการสร้างและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาลอย่างเป็นรูปธรรม 6 ด้าน ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ด้วยการพัฒนาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ การกระจายอำนาจและการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการบริหารและจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานไปสู่เป้าหมาย ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้
 
ตัวบ่งชี้ที่ 1 การบริหารจัดการที่ดี มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศและแผน เป็นเครื่องมือในการพัฒนางานให้เหมาะสมตามบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมีการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน จากนั้นมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งนำผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมาปรับปรุง และพัฒนาการบริหารและการจัดการศึกษา
        ระดับคุณภาพ 5 มีและใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นระบบ ครอบคลุมภารกิจ 4 ด้าน ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และพร้อมใช้ ในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประเด็น การใช้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประเด็น การใช้แผนเป็นเครื่องมือในการบริหารและการจัดการศึกษา
    ประเด็น การสร้างหรือประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี รูปแบบในการบริหารและการจัดการศึกษา
    ประเด็น การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ภายในและภายนอกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ประเด็น การนำผลการดำเนินงานมาพัฒนา การบริหารและการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 2 การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ *(ที่รับผิดชอบ) 
        การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ มีการพัฒนาให้เกิดเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยมีการพัฒนาองค์การ พัฒนางาน รวมถึงการพัฒนาตนเองจากองค์ความรู้ที่มาจากวิธีการจัดการความรู้ที่มีความหลากหลายซึ่งมาจากภายในและภายนอกองค์การ
    ประเด็น การส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และนำองค์ความรู้มาพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาองค์การ โดยใช้กระบวนการวิจัย
        ระดับคุณภาพ 5 *(ควรระบุไว้ในแผนฯ)
    1. มีการส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM)
    2. มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ระดับกลุ่ม ระดับองค์การ และระหว่างระดับองค์การ
    3. มีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำ KM/PLC อย่างชัดเจน
    4. นำผลการดำเนินงานที่ได้จากการทำ KM/PLC ไปใช้ในการพัฒนาองค์การ
    5. มีการนำกระบวนการวิจัยหรือเทคนิคการวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา

ตัวบ่งชี้ที่ 3 การกระจายอำนาจและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารและการจัดการศึกษา
    ประเด็น การส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของบุคคล ครอบครัว เอกชน องค์กร ชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น บทบาทในการบริหารและจัดการศึกษา รวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน การประสานงานเชื่อมโยงให้บุคคล องค์คณะบุคคล หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้ำมามีส่วนร่วมในการพัฒนาการบริหารและจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน

วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ องค์กรแห่งการเรียนรู้

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8CLO-64_Page_1.jpg

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8CLO-64_Page_3.jpg

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8CLO-64_Page_2.jpg



บทวิเคราะห์: โครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

1. กิจกรรมหลัก
    1.1 จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
    1.2 จัดทำสื่อ e-Learning เพื่อบริการความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา
    1.3 รายงานผลการดำเนินงาน ของแต่ละกลุ่มงาน/กลุ่มสาระ/กลุ่มความรู้
    1.4 สรรหา Best Practice ของแต่ละกลุ่มงาน/กลุ่มสาระ/กลุ่มความรู้

2. กลยุทธ์การพัฒนาสู่ระดับคุณภาพ
    2.1 มีการส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) 
        - จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
        - จัดทำสื่อ e-Learning เพื่อบริการความรู้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา 
        - เสนอขออนุมัติหลักสูตรการอบรม e-Learning (บางหลักสูตร) เป็นหลักสูตรคุรุพัฒนาที่ใช้รับรองชั่วโมงการพัฒนาตนเองได้ 
    2.2 มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) ระดับกลุ่ม ระดับองค์การ และระหว่างระดับองค์การ
        - จัดทำแบบสำรวจชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ระดับต่าง ๆ พร้อมลิงก์การเข้าถึง เพื่อตรวจสอบ 
    2.3 มีการสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำ KM/PLC อย่างชัดเจน
        - จัดทำเอกสารการถอดบทเรียน (กำหนดรูปแบบ วิธีการ) 
    2.4 นำผลการดำเนินงานที่ได้จากการทำ KM/PLC ไปใช้ในการพัฒนาองค์การ
        - จัดทำเอกสารคู่มือการพัฒนางาน (กำหนดรูปแบบของคู่มือ) 
    2.5 มีการนำกระบวนการวิจัยหรือเทคนิคการวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา 
        - จัดทำสื่อหรือประชุมชี้แจง การนำกระบวนการวิจัยหรือเทคนิคการวิจัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนา 

3. ประเด็นยุทธศาสตร์โครงการ คลิก 

4. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ e-Learning (กรอบคิด) 
    4.1 จัดทำปฏิทินปฏิบัติงานพัฒนาบทเรียนออนไลน์ คลิก 
    4.2 จัดทำโครงสร้างหลัก รูปแบบของบทเรียนและกระบวนการเรียนรู้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน จัดทำโครงสร้างเนื้อหา และการวัดประเมินผล จัดทำคำอธิบายหลักสูตร > คลิก 
    4.3 กำหนดภาระงานมอบหมายให้ผู้เรียนปฏิบัติ > คลิก 
    4.4 วิจัยทดลองบทเรียนออนไลน์ (หาประสิทธิภาพ / จัดทำเป็นเอกสาร)
    4.5 การพัฒนาต่อยอดบทเรียนออนไลน์เป็น Best Practice (กำหนดรูปแบบ จัดกิจกรรม ประเมินตัดสิน ประกาศผล)
    4.6 การประชาสัมพันธ์ 
    4.7 ออกแบบเกียรติบัตร

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/practice-model/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C64.jpg

ป้ายประชาสัมพันธ์ 
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.jpg

ตัวอย่างเกียรติบัตร (รุ่น 1) 
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C2-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9964_Page_1.jpg

ตัวอย่างเกียรติบัตร (รุ่น 2) 
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/bukhlakr/kerin/khorngkar/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C2-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9964_Page_2.jpg

5. การประเมินโครงการ
    5.1 ประเมินตัวระบบการบริหารจัดการออนไลน์
    5.2 ประเมินจากทุกหลักสูตร / ทุกบทเรียน
    5.3 ประเมินจากทุกกิจกรรม
    5.4 ประเมินผลสำเร็จในภาพรวมของโครงการ
    5.5 ประเมินผลกระทบ

6. ผลการดำเนินการ
    6.1 จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 57 คน
    6.2 จำนวนผู้ผ่านการพัฒนาครบทุกกิจกรรม จำนวน - คน
    6.3 ชิ้นงานตามภารงานของผู้ผ่านการพัฒนา > คลิก
    6.4 บัญชีรายการการนำเสนอ VTR Best Practice ของสถานศึกษาผ่านรายการพฤหัสบดีที่นี่ สพป.นครปฐม เขต 2 ด้วยระบบการถ่ายทอดสด STREAMING ผ่านช่องทาง YouTube สพป.นครปฐม เขต 2 NPT_2 > คลิก  



@ Thailand Education Eco -System Model

HCEC (Human Capital Excellence Center) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศเป็นหน่วยพัฒนาทุนมนุษย์ (HR) ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์อาชีพ อุตสาหกรรม และธุรกิจ

DEEP (Digital Education Excellence Platform) แพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศเป็นหน่วยบริหารจัดการองค์ความรู้ (KM) ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต

EIDP (Excellence Individual Development Plan) แผนพัฒนารายบุคคลเพื่อความเป็นเลิศเป็นต้นแบบการพัฒนาศักยภาพบุคคล (Human Potential : HP) Human Potential : HP) Human Potential : HP) เพื่อตอบโจทย์เส้นทางความสาเร็จของชีวิต

@ การติดตาม ประเมินผลการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สพป.นครปฐม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ ตัวบ่งชี้ที่ 2 การพัฒนาสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
    ประเด็น การส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) และนำองค์ความรู้มาพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาองค์การ โดยใช้กระบวนการวิจัย
    - หนังสือแจ้ง > คลิก 
    - วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง ICT  
การติดตาม ประเมินผลการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สพป.นครปฐม เขต 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มาตรฐานที่ 1 การบริหารจัดการองค์การสู่ความเป็นเลิศ 
     เอกสารที่ต้องนำส่งในระบบ 
 โครงการ/กิจกรรม เกี่ยวกับส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
 รายงานผลการส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) และการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)
 ร่องรอยที่แสดงถึงการนำกระบวนการวิจัยหรือเทคนิคการวิจัยไปพัฒนา

     เอกสารเพิ่มเติม
1. บทเรียนออนไลน์ทุกกลุ่ม/หน่วย
2. รายงานผลของผู้เข้าศึกษาบทเรียนออนไลน์
3. ภาพถ่าย/จดหมายข่าวการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (PLC)
4. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ
5. ภาพการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา
6. แบบสรุปผลการประเมินความพึงพอใจ
7. บัญชีรายการ การสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการใช้ไลน์แอพพลิเคชั่น และ Facebook group 
8. บัญชีรายการ การสื่อสารผ่าน Facebook fanpage 
9. บัญชีรายการ Best Practice ของโรงเรียนและของเขตพื้นที่ ซึ่งเผยแพร่บนเว็ปไซต์ของ สพป.นครปฐม เขต 2 > คลิก 
10. บันทึกการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ 
11. บัญชีรายการการนำเสนอ VTR Best Practice ของสถานศึกษา ผ่านรายการพฤหัสบดีที่นี่ สพป.นครปฐม เขต 2 ด้วยระบบการถ่ายทอดสด STREAMING ผ่านช่องทาง YouTube สพป.นครปฐม เขต 2 NPT_2 
        ฯลฯ



ปี พ.ศ. 2563
โครงการนิเทศบูรณาการ > คลิก
โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามกรอบมาตรฐาน CEFR และภาษาต่างประเทศที่สาม โดยเครือข่ายชุมชนวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษ (PLC) 
กิจกรรม 
    1) ประชุมพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนวิชาภาษา อังกฤษ ด้วยกระบวนการ Active Learning ตามโครงการพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษในระดับภูมิภาค (Boot Camp) จำนวน 2 วัน 
    2) ประชุมพัฒนาครูแกนนำภาษาอังกฤษ ระดับภูมิภาค (Boot Camp) จำนวน 2 วัน 
    3) ประชุมจัดทำหลักสูตรการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยห้องเรียน Mini Program (MEP) ในกลุ่มโรงเรียนประจำอำเภอ และโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 3 วัน 
    4) พัฒนาบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษด้วยห้องเรียน Mini English Program (MEP) ในกลุ่มโรงเรียนประจำอำเภอ และโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 3 วัน 
    5) ประกวดบทเรียนการปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อการพัฒนาทั้งทางตรงและ Online
    6) จัดทำเว็บเพ็จ Boot Camp to Best Practice > คลิก 
    7) นิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ
@ ตอบกรอบการดำเนินงานที่มีผลต่อการบริหารจัดการศึกษาและจัดการเรียนการสอน (ส่งภายใน 16 มี.ค. 63) 
    เอกสารต้นเรื่อง > คลิก
    เอกสารการตอบตามกรอบการดำเนินงาน > คลิก
@ โครงการนิเทศ ติดตามและประเมินผลแบบบูรณาการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ(2563) > คลิก



ปี พ.ศ. 2562
โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนวิชาชีพ (2562) > คลิก
@ โครงการภาษาอังกฤษ > คลิก 



หน้าเว็บย่อย (1): ภารงาน
Ċ
เจนจิรา กุลศรีวัฒนไชย,
7 ก.ค. 2564 04:02
ą
เจนจิรา กุลศรีวัฒนไชย,
16 มี.ค. 2563 03:33
Ċ
เจนจิรา กุลศรีวัฒนไชย,
25 ก.พ. 2564 01:12
ĉ
เจนจิรา กุลศรีวัฒนไชย,
16 มี.ค. 2563 03:14
Ċ
เจนจิรา กุลศรีวัฒนไชย,
1 ม.ค. 2564 02:05
Comments