บุคลากรกลุ่มนิเทศฯ > เกริน ช้อยเครือ >
กิจกรรมการนิเทศและการปฏิบัติงาน ศน.เกริน 2564
25-27 มกราคม 2564
วันที่ 25 มกราคม 2564 การประชุม ระหว่างมูลนิธิ star fish กับ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนวัดบ่อตะกั่ว โรงเรียนวัดทรงคนอง โรงเรียนวัดเชิงเลน โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ เข้าร่วมประชุม ระหว่างมูลนิธิ star fish กับ โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนคลองบางกระทึก เอกสารการประชุม Coaching ระหว่างวันที่ 25-27 ม.ค. 2564 > คลิก |
22 มกราคม 2564
สรุปเนื้อหาในการประชุม 1. การเตรียมรับการประกันคุณภาพภายนอก รอบ 4 (รับผิดชอบโดย ศน.สุภัค ศน.สุทธิรัตน์ และ ศน.ทุกท่าน) 1.1 มีโรงเรียนสมัครเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 50 โรงเรียน (ตามจำนวนที่กำหนด) ทั้ง 4 อำเภอในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 > คลิก 1.2 เตรียมจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการซักซ้อมการประเมิน (Mock Assessment) เพื่อซักซ้อมการประเมินเสมือนจริง 1.3 งานประกันคุณภาพ จัดเตรียมเอกสาร SAR เพื่อให้ศึกษานิเทศก์วิเคราะห์ และเข้านิเทศ ติดตามฯ โรงเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนที่สมัครเข้ารับการประเมิน 1.4 จัดทำปฏิทินการ Mock Assessment 1.5 *ควรแนะนำให้โรงเรียนจัดเก็บเอกสารแบบ electronic files ลงในหน้า website ของโรงเรียน เพื่อให้โปร่งใส สะดวกในการติดตาม ตรวจสอบ และเข้าถึงง่าย**** 2. การสอบ O-NET ตามความสมัครใจ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยดำเนินการเตรียมการทุกอย่างเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ยกเว้น ให้ผู้เรียนเป็นผู้สมัครใขเข้ารับการทดสอบ และการจัดห้องสอบ ห้องละ 20 คน โดยปฏิบัติตามมารตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด (รับผิดชอบโดย ศน.เกริน) 3. การวางแผนจัดทำข้อสอบมาตรฐานกลางของเขตพื้นที่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเป็นการวัดระดับคุณภาพของการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ รับผิดชอบโดย ศน.เกริน และ ศน.ทุกท่าน 4. โรงเรียนรักษาศีล 5 (รับผิดชอบโดย ศน.พรสวรรค์) 5. NPT2 Award โดยผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา 6. ความก้าวหน้าในการจัดทำวิจัย 7 เรื่อง |
20-21 มกราคม 2564
วันที่ 20 มกราคม 2564 นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 ณ โรงเรียนวัดมะเกลือ (กาญจนลักษณ์วิทยา) วันที่ 20 มกราคม 2564 นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 ณ โรงเรียนบ้านคลองสว่างอารมณ์ |
15 มกราคม 2564
วันที่ 15 มกราคม 2564 นิเทศ ติดตามการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ของสถานศึกษาในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 ณ โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ โรงเรียนบุณย์ศรีสวัสดิ์ และโรงเรียนบ้านคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม โรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ นางสาวนิภา หวานชะเอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองมหาสวัสดิ์ (ตั้งตรงจิตร 17) พร้อมด้วยคณะครู ขอขอบพระคุณ ศน.เกริน ช้อยเครือ ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 มานิเทศและให้กำลังใจการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ต่อไป |
8 มกราคม 2564
วันที่ 8 มกราคม 2564 เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการระดับจังหวัดในกลุ่มจังหวัดที่ 1 เพื่อดำเนินงานคัดเลือกนักเรียนและสถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2563 ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 8 มกราคม 2564 เวลา 09:30 น. ผ่านการประชุมออนไลน์ google Meet ณ ห้องประชุม conference สพป.นครปฐม เขต 2 - วาระการประชุม > คลิก |
เฝ้าระวังโควิด-19
การติดตามการดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
กลุ่มพุทธมณฑล
วันที่ 6 มกราคม 2564
ร่วมรับชมรายการพุธเช้า...ข่าวสพฐ. ครั้งที่ 1/2564 ประจำวันพุธที่ 6 มกราคม 2564 แนวทางการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์ covid -19 - ดำเนินการ รวบรวมสารสนเทศ Infographic เกียวกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ของโรงเรียนต่าง ๆ ในกลุ่มพุทธมณฑล > คลิก - แนวทางการจัดการเรียนการสอนฯ (5 ม.ค.64) > คลิก - แนวปฏิบัตินับเวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 (หนังสือที่ ศธ 04010/ว1529 ลว.20 พ.ค. 63) > คลิก - แนวทางการจัดการเรียนการสอนก่อนการเปิดเรียนในสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563 > คลิก
วันที่ 5 มกราคม 2564 ร่วมรับชม การประชุมทางไกลด้วยระบบ Video confereance เรื่อง แนวทางการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์ covid -19 ในวันที่ 5 มกราคม 2564 เวลา 10.00 น. ร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่านทาง youtube ที่ลิงก์ https://youtu.be/9yfgsm1hLQ0 | วันที่ 2 มกราคม 2564 ดำเนินงานวางแผนติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับกลุ่มพุทธมณฑล มีแนวคิด ที่ศึกษานิเทศก์ประจำกลุ่มโรงเรียน อาจทำแบบติดตาม ส่งถึงสถานศึกษา ให้สถานศึกษาจัดทำข้อมูลและส่งกลับข้อมูล เพื่อสรุปรวบรวม รายงานตามลำดับ (ตัวอย่างแบบติดตาม) ประเด็นการติดตาม 1. การกำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังของโรงเรียน 2. การกำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3. การใช้ช่องทางการสื่อสาร ระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน 4. ใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ (โรงเรียนกำหนดให้ใช้ และที่ทางบ้านเข้าใช้เอง) 5. การใช้แอพพลิเคชั่นเสริมการจัดการเรียนการสอนของครู (ระบุชื่อแอพพลิเคชั่นและกระบวนการใช้) 6. ปัญหา/อุปสรรค์ในการจัดการเรียนการสอนที่ประสบ 7. ข้อเสนอแนะ 1. วัดมะเกลือ 2. บุณยศรีสวัสดิ์ 3. บ้านคลองสว่างอารมณ์ 4. บ้านคลองมหาสวัสดิ์ 5. พระตำหนักสวนกุหลาบมหามงคล 6. วัดสาลวัน 7. วัดสุวรรณาราม 8. บ้านคลองโยง วันที่ 3 มกราคม 2564 ประเด็นการสรุปข้อมูล ผลจากการติดตามการดำเนินงานของโรงเรียน 1. การกำหนดมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังของโรงเรียน - กำหนดวันปิด-เปิด การมาเรียน - การฉีดพ่นน้ำยาภายในโรงเรียน - การจัดให้มีจุดคัดกรองและวิธีปฏิบัติในการคัดกรอง - การจัดให้มีจุดล้างมือ - การจัดมาตรการเว้นระยะห่าง (การเข้าแถวเคารพธงชาติ / ห้องเรียน / ห้องประชุม / โรงอาหาร / การประกอบกิจกรรมในลักษณะที่มีการอยู่รวมกันหลายคน 2. รูปแบบการจัดการเรียนการสอน - เรียนรู้ที่บ้านผ่านช่องทาง Social media - On Site, On Air, Online, On Demand, On Hand - สลับกันมาเรียนเป็นกลุ่ม 3. การใช้ช่องทางการสื่อสาร - จดหมายข่าวออนไลน์ - กลุ่มไลน์ประจำชั้นเรียน - แจ้งข่าวผ่านแฟนเพ็จเฟซบุ๊คของโรงเรียน/ ครู - จดหมาอิเล็กทรอนิกส์ - เว็บไซต์ของโรงเรียน 4. การใช้แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ - deep.moe.go.th - DLTV มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม > คลิก - DLIT ของ สพฐ. https://dlit.ac.th/site/ - ALTV - OBEC Chanel - YouTube Chanel - ThaiPBSรายการ https://program.thaipbs.or.th/programs/kids - แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ สสวท. > คลิก - มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม > คลิก 5. การใช้แอพพลิเคชั่นเสริมการจัดการเรียนการสอน - Canva เพื่อการศึกษา - ZOOM - MS Teams - Explore G Suite for Education (Google Classroom) - Clever - Outschool - Expeditions AR 6. ปัญหา/อุปสรรค์ในการจัดการเรียนการสอนที่ประสบ (ระบุกรณีตัวอย่าง) 7. ข้อเสนอแนะโดยสถานศึกษา แบบติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดย กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยความเห็นชอบของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ภาคเรียนที่ 2/2563 ของสถานศึกษา > คลิก - คำสั่ง สพป.นครปฐม เขต 2 ที่ 512/2563 ลว. 30 ธ.ค. 63 เรื่อง มอบหมายการปฏิบัติหน้าที่เวรคัดกรอง เฝ้าระวัง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เวรวันที่ 19 ม.ค. 64 > คลิก - คำสั่ง สพป.นครปฐม เขต 2 ที่ 509/2563 ลว. 28 ธันวาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (DLTV) ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 > คลิก - การกำกับ ติดตามประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD 19) ภาคเรียนที่ 2/2563 (เดือนธันวาคม 2563 - มกราคม 2564) > คลิก |
1 มกราคม 2564
วันที่ 1 มกราคม 2564 สวัสดีปีใหม่ 2564 เริ่มการปฏิบัติหน้าที่ตามแนวทางวิถีใหม่ การปรับลดเวลาและวันทำงานของข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราว ในสังกัดฯ ตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) - คำสั่ง สพป.นครปฐม เขต 2 ที่ 510/2563 ลว.29 ธ.ค.63 > คลิก - ปฏิทินปฏิบัติงานพัฒนาบทเรียนออนไลน์ > คลิก แผนการดำเนินงาน ปี 2564 ใช้วิกฤติในสถานการณ์โควิด-19 work from home ในการใช้แบบบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน ให้กลายเป็นปฏิทินการทำงาน ถือเป็นการวางแผนการทำงานเชิงรุก คิดไว้ใส่ปฏิทิน เมื่อได้ทำก็จะได้บันทึกจริงไป ถ้าไม่ได้ทำ หรือยังทำไม่ได้ ก็ปรับเลื่อนไป ลงในวันต่อ ๆ ไป เพื่อสะท้อนการวางแผนการทำงานและเตรียมการเชิงรุก กำหนดกรอบ กระบวนการ ขั้นตอน การใช้แบบบันทึกฯ นี้ จึงจะเป็นมากกว่าแบบบันทึกฯ การดำเนินงานในเรื่องต่าง ๆ จะวางแผนโดยใช้แนวทางการทำงานตามแนวทางการวิจัย กรอบงานที่คิดไว้และกำหนดขอบเขตไว้ก่อน ได้แก่ 1. การติดตามข่าวสารและเก็บข้อมูลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนในกลุ่มพุทธมณฑล ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา โควิด 2019 - ประสาน รวบรวมข้อมูล และสื่อ IG ของสถานศึกษาในกลุ่มพุทธมณฑล เกี่ยวกับการดำเนินงานจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรคโคโรน่า 2019 (COVID-19) 2. การศึกษาพัฒนาตนเองเพื่อนำความรู้สู่การปฏิบัติงาน โดยการสังเคราะห์จากเนื้อหาแล้วออกแบบนำไปใช้กับงานที่จะดำเนินการหรือปฏิบัติ ได้แก่ 2.1 องค์กรแห่งการเรียนรู้ 2.2 การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ 2.3 การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, 2.4 ยุทธศาสตร์การศึกษา 4.0 2.5 การประเมินทักษะภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR 2.6 การวัดและประเมินสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2.7 การจัดทำหลักสูตรคุรุพัฒนา | 3. งานบทเรียนออนไลน์ > องค์กรแห่งการเรียนรู้ > พัฒนาสู่รายงานผลการดำเนินการหรือผลการปฏิบัติเชิงวิจัย แล้วแต่จะพิจารณาว่าจะรายงานในขอบเขตขนาดไหน 3.1 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏี เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ และเนื้อหาที่จะนำมาพัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์ 3.2 กำหนดรูปแบบของบทเรียนออนไลน์ (ลงทะเบียน รับรหัส ทดสอบก่อนเรียน ศึกษาจากสื่อ ร่วมปฏิบัติกิจกรรมแต่ละหน่วย ทดสอบหลังเรียน ส่งชิ้นงาน ฯลฯ) 3.3 กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ระยะเวลา เงื่อนไขการร่วมกิจกรรม(ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงการรับเกียรติบัตร) 3.4 กำหนดกรอบเนื้อหา เรื่อง .... จำนวนหน่วยการเรียน / สื่อ / กิจกรรม / ชิ้นงาน / การวัดผล(รวมถึงการออกข้อสอบก่อนและหลังเรียน ข้อสอบระหว่างเรียน) 3.5 ออกแบบเกียรติบัตร และการส่งมอบ 3.6 ดำเนินการพัฒนาบทเรียนผ่านระบบออนไลน์ และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3.7 ออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน (เชิงวิชาการ) 3.8 ดำเนินการขออนุมัติให้เป็นหลักสูตรคุรุพัฒนา (ถ้ามีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ) 4. งานวิจัย : การพัฒนาทักษะฟังพูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ CEFR ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ โดยใช้ระบบการทดสอบเสมือนจริง (Virtual Exam) สำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฏี เนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการทดสอบเสมือนจริง (Virtual Exam) และเนื้อหาที่จะนำมาใช้ในระบบการทดสอบเสมือนจริง 2. กำหนดเนื้อหาตามหัวข้อของระเบียบวิธีวิจัย 3. ดำเนินการพัฒนาระบบการทดสอบเสมือนจริง ตามแนวทางมาตรฐาน CEFR โดยสร้างเว็บเพ็จการทดสอบเสมือนจริง 4.สร้างแบบประเมิน (ด้านรูปแบบ-วิธีการ, ด้านเนื้อหา, ด้านความพึงพอใจ) 5. ประสาน การตรวจสอบ ประเมินบทเรียนออนไลน์ 6. ตรวจสอบ ประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญ 7. วิเคราะห์ผลการตรวจสอบ-ประเมินของผู้เชี่ยวชาญ > ปรับปรุง 8. หาคุณภาพข้อสอบ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ > ปรับปรุง 9. หาคุณภาพข้อสอบ โดยการ try-out 10. วิเคราะห์ข้อมูลผลการ try-out 11. ประชาสัมพันธ์ ส่งมอบบริการบทเรียนออนไลน์ (กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัด) 12. เก็บข้อมูลการใช้บริการเพื่อใช้วิเคราะห์หาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ 13. หาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์ 14. เขียนสรุปรายงาน(เชิงวิชาการ) รายงานผลการดำเนินงาน การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การวัดผลอิงสมรรถนะด้านทักษะภาษาอังกฤษ 15. ตรวจสอบและประเมินเว็บเพ็จการทดสอบเสมือนจริงโดยผู้เชี่ยวชาญ 16. ออกแบบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และประสานการเก็บข้อมูล เพื่อนำสู่การวิเคราะห์ข้อมูล แปลผล และการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน 17. เขียนรายงานการวิจัย 5. งานต่อยอด การพัฒนาระบบคลังข้อสอบออนไลน์ 1. ถอดบทเรียนตามระยะที่ออกแบบไว้ สู่การแก้ไข-ปรับปรุง 2. การหาคุณภาพของข้อสอบ 3. การจัดทำคู่มือการใช้บริการและส่งมอบบริการ 4. การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน (เชิงวิชาการ) 6. งานการเขียนคู่มือปฏิบัติงานของตนเองฉบับสมบูรณ์ - งานตามมาตรฐานวิชาชีพศึกษานิเทศก์ - งานวัดและประเมินผล - งานส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษา - งานที่ได้รับมอบหมาย และงานประสานงานเครือข่ายเพื่อการศึกษา 7. งานการจัดทำคู่มือนิเทศเฉพาะเรื่อง ได้แก่ 7.1 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR, 7.2 ระบบประกันคุณภาพภายในที่สอดรับกับการประเมินคุณภาพภายนอก, 7.3 การใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, 7.4 การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานศึกษา 8. การจัดประกวดผลงานนวัตกรรม/ วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) วิชาภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ประจำปี 2564 - กำหนดเกณฑ์ กติกา รายละเอียดการเข้าร่วมกิจกรรม - สร้างเกณฑ์การพิจารณา / แบบประเมิน / แบบสรุปผลการประเมิน - ออกแบบเกียรติบัตร - ถอดบทเรียนจากผลที่เกิดขึ้น รวบรวม เรียบเรียงเพื่อเผยแพร่ 9. งานการจัดทำคู่มือนิเทศเฉพาะเรื่อง - กำหนดกรอบ รูปแบบการจัดทำคู่มือนิเทศ - การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR, - ระบบประกันคุณภาพภายในที่สอดรับกับการประเมินคุณภาพภายนอก, - การใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ, - การวัดและประเมินผลการศึกษาในสถานศึกษา, - ฯลฯ |
1-9 of 9