ศน.เกริน ช้อยเครือ ชวนครูทำวิจัย
วิจัย CAR ย่อมาจาก Classroom Action Research คือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับครูที่ทำผลงาน คศ.3 ก็ต้องทำวิจัยในชั้นเรียนในลักษณะ CAR และการรายงานผลการวิจัย ก็ควรทำวิจัย 5 บท โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัย CAR ควรมี 1- 2 ข้อ คือ ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนาทักษะ/ความสามารถ/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ข้อที่ 2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ตัวอย่างที่ 1 ชื่อเรื่อง : การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม Kahoot เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ วรรณคดีไทย (พร้อมเพื่อน จันทร์นวล และนิภาพร เฉลิมนิรันดร, 2560) วัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางการเรียนวรรณคดีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้เกม Kahoot 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยโดยการใช้เกม Kahoot ตัวอย่างที่ 2 ชื่อเรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง สมัยก่อนสุโขทัย ในดินแดนไทย ด้วยกระบวนการกิจกรรมเป็นฐาน (ABL) (นพดล สืบประดิษฐ์ และแก้วใจ สุวรรณเวช, 2563) วัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมัยก่อนสุโขทัยในดินแดนไทย ก่อน และหลังได้รับการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการกิจกรรมเป็นฐาน 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกิจกรรมเป็นฐาน ตัวอย่างที่ 3 ชื่อเรื่อง : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT (นฤมล หลายประเสริฐพร และอินทิรา รอบรู้, 2561) วัตถุประสงค์ -เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4MAT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จากตัวอย่างงานวิจัยข้างต้น ทำให้เรามองเห็นแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีผลการเรียนดีขึ้น และมีความสุขในการเรียนรู้ ยิ่งเรารีวิวงานวิจัยมากเท่าไร เรายิ่งตาสว่างมากขึ้นเท่านั้นค่ะเพื่อน ๆ Cr. ผศ.อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ วัตถุประสงค์สำหรับงานวิจัยและพัฒนา (R&D) ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย R&D ควรมีกี่ข้อ งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มักมีวัตถุประสงค์ 3-4 ข้อ คือ ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนานวัตกรรม ข้อที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรม บางเรื่องก็อาจจะแตกเป็น 2 ข้อย่อย เช่น 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียน ก่อน-หลังการใช้นวัตกรรม และ 2) เพื่อศึกษาทักษะทางวิทยาศาสตร์/ทักษะการคิดวิเคราะห์ ฯลฯ ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาความคิดเห็น หรือความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมนั้น ๆ ตัวอย่างที่ 1 **ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือสอนแนะให้รู้คิด เรื่องการคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (เบญจวรรณ ดาบทอง, 2563) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือสอนแนะให้รู้คิด (IPAPI) เรื่อง การคูณและการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือสอนแนะให้รู้คิด (IPAPI) 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือสอนแนะให้รู้คิด (IPAPI) ตัวอย่างที่ 2 **ชื่อเรื่อง : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความพึงพอใจโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 (กฤตฏ์ ชมภูวิเศษ และ พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ, 2563) วัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ร้อยละ 75/75 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมุนไพรพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การลงมือเขียนโครงร่างวิจัย (Research Proposal) เมื่อเราได้หัวข้อวิจัย รีวิวงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จนได้ชื่อเรื่องวิจัยที่ชัดเจนแล้ว เราก็ลงมือเขียนโครงร่าง การเขียนโครงร่างวิจัย ทำให้ผู้วิจัยทราบรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนการวิจัยอย่างชัดเจนว่า เราจะวิจัยเรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร จะดำเนินการวิจัยอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการเก็บข้อมูล ประโยชน์ของการเขียนโครงร่างวิจัย * เป็นข้อเสนอวิจัยที่ใช้ประกอบการขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยกับแหล่งทุน * มีกรอบการวิจัยที่ชัดเจน ทำให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนการดำเนินการวิจัยที่กำหนดไว้ หัวข้อที่สำคัญของโครงร่างวิจัย มีดังนี้ 1. ชื่อเรื่อง 2. ความเป็นมาและความสำคัญ 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4. สมมติฐานการวิจัย 5. ขอบเขตการวิจัย 6. นิยามศัพท์ 7. ประโยชน์ของการวิจัย 8. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9. วิธีดำเนินการวิจัย 9.1 แบบแผนการวิจัย 9.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 9.3 ตัวแปรที่ศึกษา 9.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล 9.5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 9.6 การวิเคราะห์ข้อมูล 10. บรรณานุกรม การเขียนชื่อเรื่องวิจัยที่ชัดเจน ควรต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ วิธีศึกษา ตัวแปรที่ศึกษา และกลุ่มเป้าหมาย แต่สำหรับชื่อเรื่องของวิจัย R&D ซึ่งเป็นวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จะต้องมีการใช้คำที่บอกวิธีศึกษาว่า จะสร้างนวัตกรรมอะไรไว้ชัด ๆ เลยค่ะ อย่างเช่น... "การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชา..." "การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชา..." "การพัฒนาชุดการสอน เรื่อง..." "การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง... ร่วมกับเกมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้น..." "การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง... โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ร่วมกับเทคนิค... สำหรับนักเรียนชั้น..." เมื่อได้ชื่อเรื่องแล้ว วัตถุประสงค์ของวิจัย R&D หลัก ๆ เลยก็จะมี 3 ข้อ ข้อที่ 1 เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของ....(ชุดกิจกรรม/ชุดการสอน/บทเรียนมัลติมีเดีย/แผนการจัดการเรียนรู้...ฯลฯ) ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบ/ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา...ของนักเรียน... ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจ/ความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนรู้เรื่อง...โดยใช้ชุดกิจกรรม/ชุดการสอน/บทเรียนมัลติมีเดีย ฯลฯ) ส่วนงานวิจัยที่พวกเรารีวิวกันผ่านมานั้น บางงานอาจจะว่าวัตถุประสงค์ย่อยแตกออกไปอีก ก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการวิจัย ยิ่งมีวัตถุประสงค์มากข้อ งานยิ่งเยอะ (แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่า..จะเป็นงานดีมีคุณภาพ) เวลาทำบทที่ 4 ผลการวิจัย จะต้องตอบให้ครบทุกวัตถุประสงค์ งานวิจัย R&D จะมีคุณค่าน่าสนใจแค่ไหน อยู่ที่การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยค่ะ และการหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม (หาค่า E1/E2) สำคัญมาก ตัวอย่างชื่องานวิจัย R&D เช่น ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 5 ขั้น (5E) รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดการสอนด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี(AR) เรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชื่อเรื่อง : การพัฒนาชุดกิจกรรมรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง พุทธประวัติ โดยใช้แนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนั้น เวลาอ่านงานวิจัย ขอให้สังเกตชื่อเรื่อง และวัตถุประสงค์ด้วย เพื่อเราจะได้นำมาเป็นแนวทางการเขียนชื่อเรื่องและกำหนดวัตถุประสงค์ของงานเรา กรอบแนวคิดในการวิจัย ชื่อเรื่องงานวิจัยจะต้องระบุถึง ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม นั่นก็หมายถึง กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) ที่จะระบุถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน ตัวแปรต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง... โดยวิธีสอน... แต่ถ้าเป็นการพัฒนานวัตกรรม ก็จะมีนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมาเป็นตัวแปรต้นด้วย เช่น ชุดกิจกรรม..., บทเรียนออนไลน์ Quizizz... , สื่อมัลติมีเดีย... ตัวแปรตาม ได้แก่ 1) ผลสัมฤทธิ์การเรียนเรื่อง... โดย... 2) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียน...โดยใช้... แต่ถ้าเป็นการพัฒนานวัตกรรม ก็จะมี "ประสิทธิภาพของนวัตกรรม...ตามเกณฑ์ 80/80" เป็นตัวแปรตามด้วย การเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการมองเห็นความสัมพันธ์ของตัวแปรที่จะศึกษาชัดเจน ทำให้ผู้อ่านรู้ถึงวิธีการวิจัยในเรื่องนั้นได้ด้วย แต่งานวิจัยและพัฒนา (R&D) หลายงานจะเขียนเป็นกรอบการวิจัย (Research Framework) ในลักษณะแผนภูมิแสดงขั้นตอนการวิจัย ตั้งแต่เริ่มต้นพัฒนานวัตกรรม การทดลองใช้ ปรับปรุงและการนำไปใช้ จนถึงการประเมินผลนวัตกรรม ตามแผนการวิจัยของนักวิจัยที่ต้องการจะสื่อสารให้ทราบถึงกระบวนการวิจัย R&D ยิ่งเรารีวิวงานวิจัยมากเท่าไร เรายิ่งจัดเจนในเรื่องนั้นมากขึ้น การเลือกกลุ่มตัวอย่างสำหรับงานวิจัยในชั้นเรียน เมื่อเรารีวิวงานวิจัยหลาย ๆ เรื่องแล้วพบว่า บางเรื่องก็เรียกว่า "กลุ่มเป้าหมาย" บางเรื่องก็ใช้ว่า "กลุ่มตัวอย่าง" งานวิจัยในชั้นเรียน ทั้งที่ เป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และการวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม Cluster random sampling เช่น โรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ เป็นโรงเรียนประจำอำเภอ มีนักเรียนชั้น ม.3 มีทั้งหมด 5 ห้อง รวมนักเรียนทั้งสิ้น 144 คน ลักษณะนักเรียนมีทั้งเก่ง ปานกลาง อ่อน ทุกห้องเหมือนกัน ครูเลือกกลุ่มตัวอย่างมา 1 ห้อง ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ได้นักเรียน ม.3/2 จำนวน 30 คน จึงเรียกว่า "กลุ่มตัวอย่าง" ผลการวิจัยจึงสามารถนำไปอ้างอิงยังกลุ่มประชากรได้ ในขณะที่ โรงเรียนคุณธรรมศึกษา เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนชั้น ป.4 เพียง 1 ห้อง มีจำนวนนักเรียน 18 คน ครูจะทำวิจัยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนห้องนี้ ต้องเรียกกลุ่มนี้ว่า "กลุ่มเป้าหมาย" ผลการวิจัยไม่สามารถนำไปอ้างอิงยังประชากรกลุ่มอื่นได้เลย หรือถ้าจะทำวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case study) เลือกพัฒนาการเรียนรู้หรือปรับพฤติกรรมเฉพาะบุคคล ก็ควรจะใช้ว่า "กลุ่มเป้าหมาย" ด้วย คำอธิบายข้างต้นนี้ เฉพาะการวิจัยในชั้นเรียนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับงานวิจัยเชิงสำรวจ การสร้างและหาคุณภาพของแบบสอบถามความพึงพอใจ การทำวิจัยในชั้นเรียน เรามีวัตถุประสงค์หลักๆ 2 ประการ คือ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หรือทักษะการเรียนรู้ของนักเรียน และเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แต่วัตถุประสงค์ที่หลายคนอาจมองข้าม คือ ทำอย่างไรที่จะช่วยให้นักเรียนมีความสุข สนุกในการเรียนรู้ เห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียน จึงต้องมีการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้เทคนิค วิธีสอน หรือนวัตกรรมจัดการเรียนรู้ในเรื่องนั้น แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียน ก็ควรจะมีประมาณ 10-15 ข้อ ซึ่งมีวิธีการสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ ตามขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมินความพึงพอใจ 2) สร้างแบบประเมินความพึงพอใจเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert’s Rating Scale) มี 5 ระดับ ซึ่งกำหนดความคิดเห็น ดังนี้ ระดับ 5 หมายถึง เห็นด้วยมากที่สุด ระดับ 4 หมายถึง เห็นด้วยมาก ระดับ 3 หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง ระดับ 2 หมายถึง เห็นด้วยน้อย ระดับ 1 หมายถึง เห็นด้วยน้อยที่สุด 3) นำแบบประเมินความพึงพอใจที่สร้างเสร็จแล้วไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนตรวจสอบความชัดเจนทางภาษา และความถูกต้องของเนื้อหา เพื่อปรับปรุงแก้ไข 4) นำแบบประเมินความพึงพอใจเสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 2 คน เพื่อตรวจสอบค่าดัชนีความสอดคล้องหรือค่า IOC ของผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาแบบประเมินความพึงพอใจกับความคิดเห็นของผู้ประเมิน 5) นำแบบประเมินความพึงพอใจมาปรับปรุงแก้ไขตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแล้วนำไปให้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ 6) นำผลการตอบแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนพิจารณาหาค่าเฉลี่ยโดยใช้เกณฑ์ในการแปลความหมายของข้อมูลการประเมิน ดังนี้ ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 – 5.00 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 – 4.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับมาก ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.51 – 3.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.51 – 2.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อย ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.50 หมายถึง มีความพึงพอใจระดับน้อยที่สุด | การสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เครื่องมือวิจัยในชั้นเรียนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ก็คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับ pre-test, post-test ไม่ว่าจะทำวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน หรือพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ จะต้องมีแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อจะได้เปรียบเทียบผลการเรียนของกลุ่มเป้าหมาย ก่อน-หลังเรียน โดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้นั้นแล้ว ขั้นตอนของการสร้างและหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดการจัดการเรียนการสอนวิชา.........ชั้น..... เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ 2) วิเคราะห์เนื้อหา และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของบทเรียนตามเนื้อหา วัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เพื่อสร้างแบบทดสอบ 3) สร้างแบบทดสอบเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ให้ครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง 4) นำแบบทดสอบที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องและประเมินคุณภาพ เพื่อดูความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC (Index of Item - Objective Congruence) 5) ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาคำนวณหาระดับความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) และค่าความเที่ยง โดยใช้สูตร KR- 20 ของ Kuder Richardson 6) เลือกแบบทดสอบที่มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.27 – 0.89 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.13 – 0.66 เป็นแบบทดสอบที่ใช้จริง จำนวน 20 ข้อ แล้วหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับ โดยใช้วิธี KR- 20 ของ Kuder Richardson 7) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา....ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย การวิจัยในชั้นเรียนเราใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น ข้อมูลที่เราจะวิเคราะห์ก็เป็นตัวเลขไม่มาก จึงไม่ยุ่งยากในการคำนวณ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรรม spss ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป เดี๋ยวนี้ทำได้ไม่ยากแล้ว สถิติที่เราใช้ในการวิจัยในชั้นเรียน คือ 1. ร้อยละ 2. ค่าเฉลี่ย 3. ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4. ทดสอบค่า t-test กรณี 1 กลุ่ม เช่น ถ้าเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียน(pre-test) กับคะแนนสอบหลังเรียน(post-test) เราก็ใช้การทดสอบ t-test แบบ Dependent กรณี 2 กลุ่ม เช่น ถ้าเปรียบเทียบคะแนนสอบระหว่างกลุ่มทดลอง กับกลุ่มสอนตามปกติ เราก็ใช้การทดสอบ t-test แบบ independent 5. ค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรม (E1 ,E2) ได้แก่ ชุดกิจกรรม วิธีสอน รูปแบบการสอน สื่อการสอน แบบฝึก บทเรียนออนไลน์ เกม เป็นต้น 6. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย ค่าความเที่ยงตรงโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) ค่าความยากง่าย (p) ของแบบทดสอบ ค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ 1) นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน หรือทำให้พัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่าง ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น ได้แก่ • ชุดกิจกรรม / ชุดการสอน • แบบฝึกทักษะ / ชุดการฝึก / ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ • บทเรียนสำเร็จรูป / บทเรียนคอมพิวเตอร์ • เกม • การ์ตูน • นิทาน • หนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติม/ หนังสือส่งเสริมการอ่าน • เอกสารประกอบการเรียนการสอน / เอกสารประกอบการสอน 2) นวัตกรรมประเภทรูปแบบการจัดการเรียนรู้ / เทคนิค / วิธีการสอน นวัตกรรมประเภทนี้ เป็นการใช้วิธีการสอน หรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่นักการศึกษาได้คิดค้น เพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทั้งในด้านการความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตคติ ได้แก่ • การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ • CIPPA MODEL • วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT • วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี • วิธีสอนแบบบรูณาการ • วิธีสอนโครงงาน การรีวิว นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ก็ทำให้เราเข้าใจรูปแบบและวิธีการพัฒนานวัตกรรมมากขึ้น แหล่งดาวน์โหลด นวัตกรรม > คลิก การจะสื่อสารว่างานของเราเป็นงานวิจัย R&D (วิจัยและพัฒนา) ต้อง เริ่มจาก.. ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ และวิธีการวิจัย
1) ชื่อเรื่อง ควรเขียนให้ชัด ๆ ไปเลยว่า... "การพัฒนา ... อะไร(นวัตกรรม)อ่ะค่ะ" ชุดกิจกรรม? ชุดการสอน? รูปแบบการจัดกิจกรรม? รูปแบบวิธีสอน...ความรู้เรื่อง?..โดยใช้... 2) วัตถุประสงค์ ควรมี 3-4 ข้อ ตัวอย่างเช่น ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม.... ให้มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์.. ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม... ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาเจตคติ/ความคิดเห็น/ความพึงพอใจของนักเรียน...ที่เรียน...โดยใช้ชุดกิจกรรม... 3) วิธีการวิจัย หรือบทที่ 3 ย่อหน้าแรกของบทที่ 3 บอกตรง ๆ ชัด ๆ ไปเลยค่ะว่า... "การวิจัย เรื่อง...... เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ชุดกิจกรรม..... ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้" จากนั้น ก็ลงรายละเอียดไปตามหัวข้อ พอมาถึงหัวข้อ วิธีการวิจัย เราก็อธิบายขั้นตอนการดำเนินการตามกระบวนการ R&D ให้ชัด ๆ ไปเลยตามนี้นะ การวิจัยและพัฒนา (R&D) มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจน เป็นการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ รวมถึงการศึกษา ทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ศึกษา และสิ่งที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือพัฒนางานให้ดีขึ้น (R1: Research ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 2 พัฒนาต้นแบบ ถ้าเป็นการเรียนการสอนก็จะเป็นการพัฒนารูปแบบ กระบวนการ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ อุปกรณ์ หรือระบบการบริหารจัดการ (D1: Development ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 3 ทดลองใช้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองในกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ (R2) ขั้นที่ 4 ปรับปรุงต้นแบบให้เหมาะสม (D2) ขั้นที่ 5 นำต้นแบบที่สมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (R3) ซึ่งการพัฒนาต้นแบบมีการทำอย่างต่อเนื่อง จะพัฒนาและไปทดลองใช้กี่ครั้งขึ้นอยู่กับงานวิจัยแต่ละเรื่อง จนกว่าผู้วิจัยจะมั่นใจได้ว่าสามารถนำต้นแบบที่สมบูรณ์นั้นไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างครบถ้วน ขั้นที่ 6 ประเมินประสิทธิผลของต้นแบบ และเผยแพร่ ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร ์ สําหรับนักเรียนช้ันประถมศึกษาปีที่ 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ 80/80 2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL ประกอบด้วย 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2.2) เพื่อประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2.3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ การเก็บและรวบรวมข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (R1) : การศึกษาข้อมูลพื้น ฐานเกี่ยวกับการจัด การเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL โดยวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศกราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช้นประถมศึกษาปีที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (D1) : มีการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL ผ่านการหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงแก้ไข ไปหาประสิทธิภาพ (E1 /E2 ) ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/ 80 ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (R2) : การทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิผลโดยนำการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อประเมินประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL ขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (D2) : การประเมินผลและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยเทคนิค KWDL ได้แก่ 1) ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จากการทำแบบทดสอบ 2) ประเมินทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานดวยเทคนิค KWDL งานวิจัยบางงานที่เรารีวิวกันมา เป็นงานวิจัย R&D ก็จริง แต่เค้าก็ไม่ได้ระบุขั้นตอนชัดเจน ทำให้ผู้อ่านงานวิจัยต้องวิเคราะห์กระบวนการวิจัยเอาเอง ก็มีอยู่หลายงาน แต่เรารู้วิธีการเขียนที่ชัดเจนแล้ว งานของเราก็จะทำให้ผู้อ่านกระจ่างได้ทันที
การทำวิจัยพัฒนานวัตกรรม (R&D) วัตถุประสงค์ข้อแรก คือ เพื่อสร้างนวัตกรรม... ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 การวิเคราะห์ข้อมูลก็คือ การหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือ การหาค่า E1/E2 นั้นเอง E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการE2 คือ ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ความหมายหมายของ E1/E2 มีดังนี้ E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ (กระบวนการในที่นี้ คือ กระบวนการ การจัดการเรียนการสอนระหว่างเรียนทั้งหมด โดยคิดจากคะแนนหลังเรียนของแต่ละหน่วย แต่ละบท ของแต่ละเรื่อง) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบย่อยได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 ซึ่งหาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผลรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบทุกชุด ก็จะได้ E1 E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (ผลลัพธ์ในที่นี้หมายถึง หลังจากผู้เรียน เรียนจบกระบวนการ โดยคิดคะแนนจากหลังเรียน ได้มาจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นั่นเองครับ) เช่น ตัวเลข 80 หมายถึง ผู้เรียนทั้งหมดได้ทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80 หาได้จากสูตร ผลรวมของคะแนน หารด้วย จำนวนผู้เรียนทั้งหมด คูณด้วย 100 แล้วหารด้วย ผลรวมของคะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน ก็จะได้ E2
การคำนวณข้างต้นนี้ไม่ยาก และค่า E1/E2 ก็มีความสำคัญมาก ยิ่งถ้าตัวเลขเข้าใกล้ 100 มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารับรองประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เอกสารทางวิชาการเพื่อศึกษาเพิ่มเติม "การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ การทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน E1/E2 Model ตอนที่ 1 การทดสอบประสิทธิภาพสื่อและชุดการสอน E1/E2 Model ตอนที่ 2 "การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้...." หรือ "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน..." หรือ "การพัฒนารูปแบบการสอน..." อยากให้สังเกตดูตัวอย่างในประเด็น ดังนี้ - ชื่อเรื่อง - วัตถุประสงค์ - เครื่องมือวิจัย หลัก ๆ เลยก็จะมี แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ - การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือแต่ละอย่าง สังเกตดี ๆ นะคะ - กระบวนการพัฒนานวัตกรรม : Model - ทฤษฎีหรือแนวคิดที่นักวิจัยใช้เป็นฐานการพัฒนา Model ใหม่ ตัวอย่างงานวิจัย R&D ที่ออกแบบ Model ใหม่ ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการสอนภาษาพม่า เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (อัญญรัตน์ นาเมือง, 2560) https://so05.tci-thaijo.org/.../article/view/74969/60507 ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการสอนประสบการณ์การอ่านแบบเสริมต่อการเรียนรู้และการเรียนรู้แบบกำกับตนเองเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (สันติวัฒน์ จันทร์ใด, 2562) https://so02.tci-thaijo.org/.../article/view/196414/136541 ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้คู่ความสนุกสนาน (ยุภาดี ปณะราช, 2558) https://so05.tci-thaijo.org/.../article/view/38496/31890 งานพัฒนานวัตกรรม เป็นเรื่องของงานวิจัย R&D เริ่มจาก.. ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ และวิธีการวิจัย 1) ชื่อเรื่อง ควรเขียนให้ชัด ๆ ไปเลยว่า... "การพัฒนา ... อะไร(นวัตกรรม)" ชุดกิจกรรม? ชุดการสอน? รูปแบบการจัดกิจกรรม? รูปแบบวิธีสอน...ความรู้เรื่อง?..โดยใช้... 2) วัตถุประสงค์ มี 3 ข้อก็พอแล้ว ตัวอย่างเช่น ข้อที่ 1 เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรม.... ให้มีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ข้อที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์.. ก่อนเรียน และหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม... ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาเจตคติ/ความคิดเห็น/ความพึงพอใจของนักเรียน...ที่เรียน...โดยใช้ชุดกิจกรรม... 3) วิธีการวิจัย หรือบทที่ 3 ย่อหน้าแรกของบทที่ 3 "การวิจัย เรื่อง...... เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) ชุดกิจกรรม..... ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ดังรายละเอียดต่อไปนี้" จากนั้น ก็ลงรายละเอียดไปตามหัวข้อ อธิบายขั้นตอนการดำเนินการตามกระบวนการ R&D ตามนี้นะ การวิจัยและพัฒนา (R&D) มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาให้ชัดเจน เป็นการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ หรือเชิงคุณภาพ รวมถึงการศึกษา ทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวกับสิ่งที่ศึกษา และสิ่งที่ต้องการพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงาน หรือพัฒนางานให้ดีขึ้น (R1: Research ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 2 พัฒนาต้นแบบ ถ้าเป็นการเรียนการสอนก็จะเป็นการพัฒนารูปแบบ กระบวนการ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อ อุปกรณ์ หรือระบบการบริหารจัดการ (D1: Development ครั้งที่ 1) ขั้นที่ 3 ทดลองใช้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยทดลองในกลุ่มเล็กๆ เพื่อให้ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์ เหมาะสมที่จะนำไปใช้ (R2) ขั้นที่ 4 ปรับปรุงต้นแบบให้เหมาะสม (D2) ขั้นที่ 5 นำต้นแบบที่สมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (R3) ซึ่งการพัฒนาต้นแบบมีการทำอย่างต่อเนื่อง จะพัฒนาและไปทดลองใช้กี่ครั้งขึ้นอยู่กับงานวิจัยแต่ละเรื่อง จนกว่าผู้วิจัยจะมั่นใจได้ว่าสามารถนำต้นแบบที่สมบูรณ์นั้นไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างครบถ้วน ขั้นที่ 6 ประเมินประสิทธิผลของต้นแบบ และเผยแพร่ เพจที่ให้ความรู้เรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน เช่น - วิธีอ่านค่าคำนวณ t-test จาก Excel > คลิก - สถิติที่ใช้บ่อยสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน > คลิก บทคัดย่อ (𝑨𝒃𝒔𝒕𝒓𝒂𝒄𝒕) แสดงถึงเป้าหมายของการศึกษา ความสำคัญของผลการศึกษา และความเที่ยงตรงของบทสรุป โครงสร้างของ บทคัดย่อ คือ กระชับ (น้อยกว่า 250 คำ) สัดส่วนของเนื้อหาแบ่งเป็น การระบุถึงปัญหา (10%) วัตถุประสงค์ของการศึกษา (20%) เทคนิค (10%) ผลการศึกษาที่สำคัญที่สุด (40%) และบทสรุป (20%) กฎทั่วไปสำหรับการเขียนบทคัดย่อ คือ ไม่รวมรายการอ้างอิง ตัวย่อ ศัพท์เฉพาะ/คำสแลง และตัวเลข/สถิติที่ไม่สำคัญ ที่มา Srivastav, S. (2020, August 26). How to get your research published [Webinar]. Springer Nature. R2R คืออะไร > คลิก 6 เทคนิคการทำวิจัย 5 บท จากกิจกรรม Ubiquitous U-Learn We Share คุณเรียนรู้ เราแบ่งปัน
![]() . ![]() . ![]() . ![]() . ![]() . ![]() การเขียนวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัย
การวิจัยและพัฒนา(R&D) เพื่อขอเชี่ยวชาญ
![]() - การสำรวจความพร้อมก่อนการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ > คลิก - การสร้างหนังสือเสริมประสบการณ์การอ่านเรื่องสั้นวิชาภาษาอังกฤษ > คลิก - การส่งเสริมทักษะการเขียนตัวเลขเป็นภาษาอังกฤษ ชั้น ป.4-5 > คลิก - การส่งเสริมการท่องคำศัพท์ในวิชา Social Studies ในเรื่องอาชีพและสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชน > คลิก - การศึกษาปัญหาความคงทนในการจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้น ป. 6 > คลิก - การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะการสะกด การอ่านคำ การค้นหาตัวสะกดและความหมายของคำในวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้น ป.5 > คลิก - การสร้างและการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อการเสริมสร้างความรู้และทักษะปฏิบัติการทดสอบและวัดผลภาษาอังกฤษในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา > คลิก ตัวช่วย CMMU Library แหล่งรวมงานวิจัย บทความ วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ข่าวสารการศึกษาในแวดวงวิชาการ, คอร์สออนไลน์ Website : http://library.cmmu.mahidol.ac.th Facebook : https://www.facebook.com/LIBMAHIDOL twitter : @cmmulib IG : cmmu.library Youtube : http://bit.ly/2OPiBfQ |