แหล่งภาพต้นทาง > คลิก รหัสคิวอาร์ (อังกฤษ: QR Code ย่อจาก Quick Response Code) หรือ คิวอาร์โค้ด เป็นเครื่องหมายการค้าของบาร์โค้ดเมทริกซ์ (หรือบาร์โค้ดสองมิติ) เดิมออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ในญี่ปุ่น บาร์โค้ดเป็นป้ายสำหรับให้เครื่องอ่านด้วยแสงที่บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของที่ตัวรหัสติดอยู่ รหัสคิวอาร์มีมาตรฐานของหลักการเข้ารหัส 4 แบบ (ตัวเลข อักขระอักษรเลข ไบต์/เลขฐานสอง และคันจิ) สำหรับเก็บข้อมูลดิบ รหัสคิวอาร์ยังเป็นที่นิยมนอกเหนือจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากความสามารถในการอ่านเร็วและพื้นที่เก็บข้อมูลที่มากกว่าเมื่อเทียบกับบาร์โค้ดรหัสผลิตภัณฑ์สากล รหัสคิวอาร์นำมาใช้ในการตามรอยผลิตภัณฑ์ การระบุสิ่งของ การระบุเวลา การจัดการเอกสาร และการตลาดทั่วไป รหัสคิวอาร์ประกอบด้วยมอดูลสีดำ (จุดสี่เหลี่ยม) จัดวางในกริดบนพื้นหลังสีขาว ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยเครื่องมืออ่านภาพ (เช่น กล้องถ่ายรูป เครื่องสแกน เป็นต้น) และประมวลผลด้วยกระบวนการแก้ไขข้อผิดพลาดรี้ด-โซโลมอน จนกระทั่งภาพถูกแปลความหมายอย่างเหมาะสม และถอดออกมาจากรหัสที่นำเสนอเป็นภาพในแนวตั้งและแนวนอนจนได้ข้อมูลที่ต้องการ โดยปกติแล้วการเอามาใช้นั้น จะใช้กับการกับการเข้าเว็บไซต์ที่มีชื่อยาว ๆ หรือยากต่อการจดจำ โดยเราเพียงมีแอพพลิเคชันที่สามารถอ่าน QR Code ได้ เช่น Scan for iOS หรือ QR Droid เปิดแล้วไปจ่อกับสัญลักษณ์ QR Code แอพนั้นก็จะทำการอ่านค่าและถอดรหัสเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป QR Code เราสามารถสร้างได้เองโดยเข้าเว็บไซต์ QR Code Kaywa หรือ goqr QR Code ที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นจะอยู่ในรูปแบบเพียงขาวกับดำ แต่ในทุกวันนี้ QR Code นั้นสามารถออกแบบออกมาในรูปแบบสี รวมทั้งออกแบบให้เป็นรูปโลโก้ตามที่เราต้องการแทรกไว้ใน QR Code เพื่อให้ดูน่าสนใจและดึงดูดการใช้งานมากยิ่งขึ้น | ![]() ภาพจาก seedwalker ![]() ภาพจาก prepressure เอกสารเพิ่มเติม - ความหลากหลายของคิวอาร์โค้ด > คลิก - บทความแนะนำการสร้างคิวอาร์โค้ด > คลิก การสร้าง google form > คลิก - การสร้างข้อสอบออนไลน์+ตรวจคำตอบด้วย Google Form > คลิก - การสร้างฟอร์ม ลงทะเบียน และเชื่อมต่อไปยัง google sheet > คลิก ข้อมูลเพิ่มเติม - วิธีการใช้ Google Form > คลิก - การใช้ Google Site > คลิก |