การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching & Mentoring สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 ณ ห้องกิ่งทอง โรงแรมเวล นครปฐม วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยงในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่ระบบประกันคุณภาพการศึกษา กลุ่มเป้าหมาย : ครูและผู้บริหารจากโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด สพป.นครปฐม เขต 2 จำนวน 10 โรงเรียน คัดเลือกจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ 10 อันดับสุดท้าย ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา / ศึกษานิเทศก์ สพป.นฐ. 2 จำนวน 12 คน หลักสูตร/เนื้อหาสาระ/วิทยากร : พิธีเปิดและบรรยายพิเศษโดยนายทวีพล แพเรือง ผอ.สพป.นฐ.2 กล่าวรายงานโดยนายพิศิทธิ์ แพงศรีนิธิศ รอง ผอ.สพป.นฐ.2 / การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ดร.ธีระพงษ์ ศรีโพธิ์ รูปแบบการพัฒนาใช้รูปแบบ Browser in Service (สำนักพฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา) โดยใช้หลักการพัฒนา Coaching & Mentoring / On the Job Training / School Based Learning / Team Solution or Roving Team ตามคู่มือพัฒนาในประเด็นเกี่ยวกับ Learning to Question, Learning to Search, Learning to Construct, Learning to Communicate, Learning to Serve กระบวนการพัฒนา 3 ขั้นตอน ได้แก่ อบรม พัฒนางาน นิเทศ โดยใช้กลยุทธ์การนิเทศ คุย คิด เขียน แบ่งช่วงระยะเวลานิเทศติดตามเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 24-28 มิ.ย.56 / ครั้งที่ 2 วันที่ 24-26 ก.ค.56 / ครั้งที่ 3 วันที่ 1-2 ส.ค.56 ไม่เห็นการแสดงสไลด์โชว์ โปรดคลิกที่นี่ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 การประชุมปฏิบัติการการใช้โปรแกรมจัดทำเอกสารงานทะเบียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ โรงแรมเวล จังหวัดนครปฐม นายชนาวุฒิ กลัดแพ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เป็นประธานเปิด วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาครูที่ทำหน้าที่ด้านการวัดและประเมินผลของโรงเรียน ให้มีศักยภาพ ทั้งในเรื่องการจัดทำหลักฐานการศึกษา การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมาย : ครู จากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 150 คน การประชุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีนโยบายในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่สถานศึกษา เกี่ยวกับแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนรู้ของนักเรียน มีการพัฒนาการจัดเอกสาร หลักฐานการศึกษาให้สอดคล้องกับการใช้ผลจากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ |