PLC หลักสูตรสถานศึกษา

โพสต์8 พ.ค. 2561 04:41โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 12 เม.ย. 2562 00:03 ]

วันที่ 7 พฤษภาคม 2561

https://www.facebook.com/npt2nites/posts/993825804100231




แนวทางการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรสถาน

แสดงทัศนะโดย ดร.กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์ 3 กุมภาพันธ์ 2561


    1. แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน โดยอ้างอิงจากคำสั่งและประกาศ ต่อไปนี้ 

- คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ. 1239/2560 เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560 (อ้างอิง https://drive.google.com/…/0B9t56k6dmUe5Ul9yc0o5TG43Um8/view)

- คำสั่ง สพฐ. ที่ 30/2561 เรื่อง ให้เปลี่ยนแปลงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561 (อ้างอิง https://drive.google.com/…/1UHeCXXby0lT6SMNckOL2Qdw5QS…/view)

- ประกาศ สพฐ. เรื่อง การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ลงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 (อ้างอิง https://drive.google.com/…/1pKsUIrz1Y7iIBJrTMPbDUc7bln…/view)

- ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560  (อ้างอิง https://drive.google.com/…/0B9t56k6dmUe5ME1jWXd4OEFneUE/view)

    2. ควรจัดประชุมครูทั้งโรงเรียนเพื่อชี้แจง สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในภาพรวม ตลอดจนรับทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เอกสารประกอบการประชุมอาจนำมาจาก

- Powerpoint ประกอบการบรรยายในการประชุมทางไกลการสร้างความเข้าใจหลักสูตรฯ 2560 ของ สพฐ. และ สสวท. (อ้างอิงที่ https://drive.google.com/…/1DkS3gaLtI87oUE5HutfPcA-Bm6G4MbgR)
 
- Mind Map ที่ผมได้จัดทำสรุปภาพรวมของหลักสูตร 60 ไว้ใน 1 หน้า (อ้างอิงที่ https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1940276399333670&id=100000539852258)

- เอกสารสรุปหลักสูตรฯ 2560 ของ สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช (อ้างอิง https://drive.google.com/…/1dfeFsHaGTeCh4D1wyPGK4nJ_5_…/view)  หรือเอกสารอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

    3. จัดประชุมคณะกรรมการยกร่างหลักสูตรฯ เพื่อวางแผนการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ซึ่งอาจประกอบด้วย หัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
3.1 หัวหน้างานหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการต่าง ๆ อาทิ เช่น การจัดรายวิชา โครงสร้างเวลาเรียน + เวลาเรียนพื้นฐาน + เวลากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมง/ปี + เวลาเรียนเพิ่มเติม สถานศึกษากำหนด + เวลาเรียนรวมทั้งหมด ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานศึกษา ทั้งนี้ควรคำนึงถึงศักยภาพและพัฒนาการตามช่วงวัยของผู้เรียนและเกณฑ์การจบหลักสูตร ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การบริหารจัดการเวลาเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (11 ก.ค.2560 อ้างอิง https://drive.google.com/…/0B9t56k6dmUe5ME1jWXd4OEFneUE/view) กำหนดรหัสวิชา ชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่ไม่ซ้ำกับรหัสวิชาเดิมตามบริบทของแต่ละโรงเรียน  รวบรวมคำอธิบายรายวิชาและจัดทำเป็นร่างหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) เสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติ  นอกจากนี้งานหลักสูตรสถานศึกษา จะต้องมีการวิจัย นิเทศ ติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) อีกด้วย
3.2 กลุ่มสาระหลักที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตรครั้งนี้โดยตรง ได้แก่ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษาฯ รวมทั้ง กลุ่มสาระฯ การงานอาชีพที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากนำสาระเทคโนโลยี มาอยู่กับกลุ่มสาระฯวิทยาศาสตร์ ตลอดจนต้องมีการบูรณาการกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ด้วย ส่วนกลุ่มสาระอื่นๆ ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนรายวิชาใหม่ ให้เป็นปัจจุบันมากยิ่งขึ้นก็ถือโอกาสปรับปรุงไปพร้อมกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักที่มีการปรับปรุงหลักสูตร จะต้องนำตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้มาทำการวิเคราะห์เพื่อจัดทำคำอธิบายรายวิชา ตามที่เคยปฏิบัติมาในหลักสูตรฯ 2551 

        สำหรับรายวิชาพื้นฐาน สามารถดาวน์โหลดตัวชี้วัดได้จาก

- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) อ้างอิง https://drive.google.com/…/1vrIxiFGvwVuOkNxdAQW2dodgE1…/view

- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) อ้างอิง https://drive.google.com/…/1q5jh9wH0lBI3rk3sXvgbQ-e0kT…/view

- ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง สาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) อ้างอิง https://drive.google.com/…/1y4HJ8R2ldd2cEgD1tAO2-qkARe…/view

        นอกจากนี้ ในการเทียบเคียงตัวชี้วัดกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยีในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สามารถศึกษาได้จาก https://drive.google.com/…/1Z77HWV9ww_LADD1fG2gUu4EZ1y…/view
สำหรับคำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของ สสวท. ดาวน์โหลดได้ที่ http://oho.ipst.ac.th/ipst-cs-course-description/

        สำหรับรายวิชาเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดการเทียบเคียงตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ ได้จาก

- การเทียบเคียงตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ อ้างอิง https://drive.google.com/…/13P4tPipSJB84zMI0jB1KaC8aOI…/view

- การเทียบเคียงตัวชี้วัดและผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ อ้างอิง

        โดยเมื่อแต่ละกลุ่มสาระจัดทำคำอธิบายรายวิชาเสร็จแล้ว งานหลักสูตรสถานศึกษาจะทำการรวบรวมทั้งหมดจากทุกกลุ่มสาระฯ ต่อไป
3.3 หัวหน้างานทะเบียน การลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่หลักสูตรกำหนดและตรวจสอบการจบการศึกษาตามเกณฑ์การจบหลักสูตร
3.4 หัวหน้างานวัดและประเมินผล ลงทะเบียนรายวิชา นำรหัสวิชา ชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตจากงานหลักสูตรสถานศึกษามาจัดทำระบบวัดและประเมินผล โดยให้ครูผู้สอนประเมินผลแล้วส่งผลการเรียนให้งานวัดและประเมินผล เพื่อสรุปผลการเรียนของนักเรียนตลอดหลักสูตรส่งให้งานทะเบียนตรวจสอบการจบการศึกษาตามเกณฑ์การจบหลักสูตรต่อไป

    4. เมื่อได้ร่างหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) แล้วจึงนำเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขออนุมัติ

    5. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาอนุมัติหลักสูตรสถานศึกษา ถ้าไม่อนุมัติจะต้องนำไปปรับปรุงใหม่ แต่ถ้าอนุมัติ โรงเรียนจึงประกาศใช้หลักสูตรและนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ในระดับชั้นเรียน

    6. กลุ่มบริหารวิชาการ ขับเคลื่อนให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ดำเนินการ
        - จัดครูผู้สอน คาบสอนและตารางสอน
        - ลงทะเบียนเรียนตามรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
        - การนำหลักสูตรไปใช้นระดับชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจัดทำโครงสร้างรายวิชา ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

    7. ครูผู้สอนประเมินผลในรายวิชาที่ได้มอบหมายให้ปฏิบัติการสอน โดยส่งผลการเรียนให้งานวัดและประเมินผลผ่านระบบการวัดและประเมินผลตามบริบทของแต่ละโรงเรียน

    8. งานวัดและประเมินผลสรุปผลการเรียนของนักเรียนตลอดหลักสูตรส่งให้งานทะเบียนตรวจสอบการจบการศึกษาตามเกณฑ์การจบหลักสูตรต่อไป


***************************

Comments