โครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS)G หมายถึง การรวบรวมและเลือกข้อมูล ( GATHERING ) โดยครูผู้สอนจะออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน สามารถดำเนินการได้ดังนี้ 1. กำหนดประเด็นในการรวบรวมข้อมูล 2 . กำหนดเป้าหมาย 3. สังเกตด้วยประสาทสัมผัส 4. รวบรวมข้อมูลจากการสังเกต 5. เลือกข้อมูลมาใช้ 6. บันทึกข้อมูล 7. ดึงข้อมูลเดิมมาใช้ P หมายถึง การจัดกระทำข้อมูล ( PROCESSING ) ครูผู้สอนจะต้องออกแบบกิจกรรมการสอนให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ ดังนี้ 1. จำแนก 2. เปรียบเทียบ 3. จัดกลุ่ม และ จัดลำดับ 4. สรุป เชื่อมโยง 5. ไตร่ตรองด้วยเหตุผล 6 . วิจารณ์ 7. ตรวจสอบ A หมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ ( APPLYING ) เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเกิดความสามารถ ดังนี้ 1. ประเมินทางเลือก 2 . เลือกทางเลือก 3. ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ 4. ขยายความรู้ให้รู้จริงมากขึ้น 5. การิเคราะห์ 6. การสังเคราะห์ 7. การตัดสินใจ 8. การนำความรู้ไปปรับใช้ 9. การแก้ปัญหา 10. การคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ 11. การคิดสร้างสรรค์ S หมายถึง การกำกับตนเอง หรือ การเรียนรู้ได้เอง ( SELF – REGULATING ) เป็นการควบคุมออกแบบ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้ 1. การตรวจสอบและควบคุมการคิด 2. การสร้างค่านิยมการคิด 3. การสร้างนิสัยการคิด การนำโครงสร้างทักษะกระบวนการคิด (GPAS) เป็นโมเดลที่ครบวงจรกระบวนการทักษะการคิด 4 ประการ เป็นขั้นตอนและจุดเน้นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองเริ่มต้นดังนี้ 1. ครูออกแบบการเรียนรู้โดยกำหนดว่า นักเรียนควรสรุปความรู้จากเรื่องที่เรียนเป็นข้อความจากการเรียบเรียงความคิดของตนเองเพื่อสรุปเป็นความคิดรวบยอด ความสัมพันธ์หลักการ ทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้ - นักเรียนเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูล เลือกข้อมูลที่สำคัญ - นำข้อมูลมาจัดกระทำข้อมูลเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ จำแนก เพื่อให้ได้ความรู้ตามที่กำหนด - ลงมือปฏิบัติจริง สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ - สรุปผลที่ได้จากกระบวนการเหล่านี้ที่ตกผลึกในตัวผู้เรียน เป็นตัวตน บุคลิกภาพของผู้เรียน 2. ครูฝึกผู้เรียนโดยใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบทบทวนการคิด พูด ทำ เสมอๆ เพื่อปรับปรุงงานในขณะดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น
................................................................. ศน.กนกรัตน์ สุพรรณอ่วม กลุ่มงานพัฒนาหลักสูตร ฯ สพป. นครปฐม เขต 2 |