ติดตามความเคลื่อนไหวการจัดกิจกรรม
-
ส่ง 2 ก.ค. 2562 13:45 โดย Webmaster Supervisory -
ส่ง 2 ก.ค. 2562 13:48 โดย Webmaster Supervisory -
ส่ง 2 ก.ค. 2562 13:49 โดย Webmaster Supervisory
แสดงบทความ 1 - 3 จาก 7 รายการ
ดูเพิ่มเติม »
![]() เรื่องแจ้ง ! ![]() - เรื่องแจ้ง (30 ก.ย. 63) > คลิก - เรื่องแนบ > คลิก ![]() คลิป Best practices ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" โรงเรียนวัดบึงลาดสวาย สะบ้า > คลิก โรงเรียนวัดลานคา > คลิก โรงเรียนวัดจินดาราม > คลิก โรงเรียนวัดสาละวัน > คลิก โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล > คลิก โรงเรียนวัดดอนหวาย > คลิก ![]() ประกาศแล้ว 3,831 โรงเรียนนำร่อง ตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
โรงเรียนสังกัด สพป. จำนวน 3,437 โรง
โรงเรียนสังกัด สพม. จำนวน 384 โรง
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จำนวน 10 โรง
รายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 จำนวน 20 โรง (ลำดับประกาศที่ 836 - 855)
![]() พิธีเปิดการประชุม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” วันที่ 15-16 ตุลาคม 2558
ณ ห้องประชุมบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
![]() 1. ด้านการพัฒนาสมองและองค์ความรู้ : Head 2. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม : Heart 3. ด้านทักษะจากการลงมือปฏิบัติ : Hand 4. ด้านสุขภาพและสมรรถภาพทางกาย : Health โดยแบ่งตามหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2. กระทรวงวัฒนธรรม 3. กระทรวงสาธารสุข 4. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ![]() 1. แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน : ภาพรวมทุกด้าน โดย - ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สพฐ.
2. แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดย ![]() 1.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน คลิก 2.เสริมสร้างสมรรถนะการเรียนรู้ คลิก 3.เสริมสร้างคุณลักษณะและค่านิยม คลิก 4.สร้างเสริมทักษะการทำงาน คลิก ![]() ![]() @ การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะ ในศตวรรษที่ 21 ผ่านกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ > คลิก
@ 2_คำนำ สารบัญ > คลิก
@ 3_คู่มือประกอบรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ > คลิก
@ ICARE model > คลิก
@ คู่มือการเข้าใช้คลังเมนูกิจกรรมสนับสนุน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ขององค์กรและหน่วยงานภายนอก สำหรับองค์กรและหน่วยงานภายนอก (ฉบับย่อ) > คลิก @ คู่มือการใช้คลังเมนูสนับสนุนกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ขององค์กรและหน่วยงานภายนอก สำหรับโรงเรียนนำร่อง (ฉบับย่อ) > คลิก อ่านรายละเอียดคลิกที่ภาพ | แนวทางการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ : Active Learning > คลิก รายงานผลการนิเทศ แบบรายงานภาคเรียนที่ 1/2559 ST1 (สำหรับศึกษานิเทศก์) แนวทางการนิเทศการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนา Head ตามนโยบาย "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ปีการศึกษา 2559 แนวทางตั้งคำถามในการสรุปบทเรียนและส่งเสริมการคิด > คลิก ![]() แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ![]() ![]() ![]() |
หลักสำคัญ-ลดเวลาเรียน-เพิ่มเวลารู้-ให้เด็กดี-เก่ง-มีความสุข โดย ศน.ครรชิต มนูญผล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ
หลักการสำคัญ 6 ประการ ในการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ให้มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1.หลักท่ี 1 : พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
* ให้ครูรักเด็กและให้เด็กรักครู
* ให้สอนเด็กให้มีน้ำใจต่อเพื่อนไม่ให้แข่งขันกัน แต่ให้แข่งขันกับตัวเอง
* ให้เด็กที่เรียนเก่งกว่าช่วยเหลือเด็กที่เรียนช้ากว่า
* ให้ครูจัดกิจกรรมให้ทำร่วมกันเพื่อให้เห็นคุณค่าของความสามัคคี
2.หลักท่ี 2 : พระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ
* องค์ 4 การศึกษา
1.พุทธิศึกษา
2.จริยศึกษา
3.หัตถศึกษา
4.พลศึกษา
3.หลักที่ 3 : การปลูกจิตสำนึกแบบระเบิดจากข้างใน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนิน ชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
*หลักการสำคัญ การจัดการหรือเพาะบ่ม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดฉุกคิดขึ้นมา ทีละเล็กละน้อยทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งบังคับหรือไม่ โดยใช้หลากหลายแนวทาง ให้เกิดแรงขับกระตุ้นจากภายในมากกว่าภายนอก เน้นตามบริบทของตัวตน จนกระทั่งลงมือกระทำโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ
1.เน้นพึ่งตนเองได้ กล่าวคือไม่ต้องมีการบังคับเคี่ยวเข็ญใดๆ จนเป็นภาระแก่ผู้อื่นตลอดเวลา สามารถเลือกแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม แล้วลงมือปฏิบัติ ปรับปรุง พิจารณาผลการปฏิบัติ รวมทั้งชื่นชม เกิดความภาคภูมิใจได้ด้วยตนเอง
2.คำนึงถึงบริบท+ภูมิสังคม+ความพร้อม กล่าวคือในการวางแผนการปฏิบัติ พัฒนานั้น วิธีการ รวมทั้งสื่อต่างๆ ที่นำมาใช้ ต้องเกิดจากความคิดของตนเอง มีความเหมาะสมกับสภาพ บริบทของตนเอง ควรคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ ชีวิตจริง สังคมจริงเป็นสำคัญ ไม่นำวิธีการจากสังคมที่แตกต่างมาใช้จนเกิดความรู้สึกเหลื่อมล้ำ
3.ทำตามลำดับขั้นตอน กล่าวคือมีการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอนเป็นระบบตรวจสอบได้ และให้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามที่ตนเองกำหนดไว้ตามลำดับ
4.ประหยัดเรียบง่าย วิธีการ ขั้นตอน รวมทั้งสื่ออุปกรณ์ใดที่นำมาใช้ ต้องเน้นถึงความเรียบง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ควรใช้งบประมาณมหาศาล หรือกระทำโดยติดยึดกับงบประมาณเท่านั้น
5.บริการจุดเดียว การปฏิบัติการต่างๆ ให้มีจุดบริการหรือศูนย์อำนวยความสะดวกในทุกเรื่องรวมศูนย์เป็นหนึ่งเดียว ไม่ต้องแยกแยะหลากหลายจุดจนเกิดความสับสนหรือยุ่งยากต่อการบริการ
6.แก้ปัญหาจุดเล็ก ในการวางแผนจัดกิจกรรม ควรเริ่มจากจุดเล็กวิเคราะห์ วิจัยหารูปแบบที่เหมาะสม ควรมีการศึกษาสภาพ ปัญหาของนักเรียนรายบุคคล แล้ววางแผนการแก้ไขหรือพัฒนาทีละจุด ทีละคน ไม่ควรใช้วิธีการเดียวกันกับนักเรียนทุกคน
7.มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ กิจกรรมพัฒนาที่จัดขึ้น ควรเน้นผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยส่วนรวม ไม่เน้นเฉพาะกลุ่มเฉพาะคน
8.ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ กิจกรรมที่นำมาพัฒนาควรคำนึงถึงธรรมชาติด้านบุคคล ธรรมชาติรอบตัว ความต้องการ ความสามารถ ความสนใจ ฯลฯ แล้วนำธรรมชาติต่างๆ เหล่านั้นมาออกแบบกิจกรรมพัฒนาให้เหมาะสมต่อไป
9.ไม่ติดตำรา ในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ควรมีแนวคิดเป็นของตนเอง อาจจะประยุกต์แนวคิดที่เหมาะสมมาใช้ เพราะวิธีการหรือกิจกรรมต่างๆ จะให้เกิดผลดีตามที่คาดหวัง ย่อมต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนเฉพาะที่สมควรเท่านั้น เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนั้น นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและเวลาอีกด้วย
10.เน้นการมีส่วนร่วม เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร โรงเรียนและผู้เรียนตั้งแต่เริ่มต้น เริ่มคิด วางแผน พัฒนา ปรับปรุงด้วยตนเอง ไม่ต้องบังคับเคี่ยวเข็ญ เป็นภาระแก่ผู้อื่น
4.หลักท่ี 4 : ใส่ใจพลังสมอง Brain based Learning กิจกรรมที่จัดขึ้นไม่บังคับ ขู่เข็ญให้ทำ ท้าทาย การขยับกายขยายสมอง ทานอาหารที่มีประโยชน์ จัดสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีสิ่งที่สร้างสรรค์
5.หลักท่ี 5 : Active Learning เน้นการเรียนรู้แบบ Learning by Doing การร่วมคิด วางแผน ลงมือปฏิบัติ ตรวจสอบและปรับปรุง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตลอดเวลา เป็นการพััฒนากระบวนการคิดขั้นสูงเพื่อให้เกิดทักษะการคิด ทักษะชีวิตที่ติดตัวต่อไป
6.หลักท่ี 6 : Formative Assessment การประเมิน ติดตามทั้งด้าน Heart+Head+Hand+Health ต้องดำเนินการเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามพัฒนาการผู้เรียนรายบุคคล จัดทำเส้นพัฒนาการ เฝ้าระวังจากทุกฝ่ายร่วมกัน ทั้งครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน
*นโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ต้องมีหลักในการดำเนินการอย่างชัดเจน ในทุกรายวิชา ทุกวัน ทุกครั้งที่ทำการเรียนการสอน ไม่ใช่บางวิชา หรือบางเวลา เพื่อบ่มเพาะให้ผู้เรียนเกิดฉุกคิดขึ้นมา ทีละเล็กละน้อยทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ทั้งบังคับหรือไม่ โดยใช้หลากหลายแนวทาง ให้เกิดแรงขับกระตุ้นจากภายในมากกว่าภายนอก เน้นตามบริบทของตัวตน จนกระทั่งลงมือกระทำโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ จนกลายเป็นนิสัยดีที่ถาวร ต่อไป
*อย่าดำเนินการอย่างไม่มีหลัก สุดท้ายจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนนโยบายต่าง ๆ ที่ผ่านมา