ลดเวลาเรียน


ผลปฏิบัติ 1/2559

โพสต์26 พ.ค. 2559 04:05โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 13:45 ]


https://www.facebook.com/chantarapim.rattanadechgumjay/posts/1205474622826602

วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙
        นายสมชาย รัตนอารี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดประชานาถ ให้การต้อนรับท่านชูฌาน พีรชัยเดโช รองผู้อำนวยการ สพป.นครปฐม เขต ๒ และ ศน.รุ่งทิวา วัฒนวงศ์ ในการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและนิเทศโรงเรียน ซึ่งจากการนิเทศครั้งนี้ได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะเพื่อไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานของโรงเรียนมากมาย อาทิ เช่น การจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้,แนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น การอ่านออกเขียนได้ การสอบ NT, LAS และ O-NET ฯลฯ 
https://www.facebook.com/profile.php?id=100004028707101&sk=photos&collection_token=100004028707101%3A2305272732%3A69&set=a.849084688569147&type=3

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=592426427597762&id=100004912306703

https://www.facebook.com/KlongbangkraturkSchool/posts/1091193060919660

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1155790981130137&id=100000977384850

https://www.facebook.com/pairat.supanuam/videos/pcb.490109787849344/490108957849427/?type=3&theater




ผลการปฏิบัติ 2/2558

โพสต์12 มี.ค. 2559 05:36โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 13:48 ]


https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=902058043226375&id=100002665646749

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1610004572581559&id=100007160948449


https://www.facebook.com/sivilai.teekham/posts/1780814612148182?pnref=story

วิธีปฏิบัติที่ดีเลิศ

โพสต์3 มี.ค. 2559 19:41โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 13:49 ]




https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1679114975696936&id=100007953498494


ติดตามความเคลื่อนไหว 4-7

โพสต์26 ธ.ค. 2558 00:23โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 13:56 ]

       ผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”  ครั้งที่ 4 – 7 ระยะที่ 2 การนำผลการเตรียมสู่การปฏิบัติ : เดือนธันวาคม 2558 – มกราคม 2559  มีการติดตามผลการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ดังนี้ 
        1. บันทึกกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และวิเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการจัดกิจกรรมตามหมวดที่ 2 หมวดที่ 3 และหมวดที่ 4 
        2. สังเกตและสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมของครู การเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน พร้อมทั้งบันทึกผลการสังเกตและสัมภาษณ์ ครูและนักเรียน โดยในการนิเทศแต่ละครั้งไม่ควรซ้ำหมวดกิจกรรม 
        3. สัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนตามประเด็นที่นำเสนอพร้อมทั้งบันทึกปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขปัญหาของโรงเรียน โดยในการนิเทศแต่ละครั้งไม่ควรซ้ำหมวดกิจกรรม 
        4. บันทึกข้อค้นพบที่เกิดจากการนิเทศติดตาม พร้อมสำเนาให้โรงเรียน 1 ชุด เพื่อไว้เป็นหลักฐานในการนิเทศติดตามครั้งต่อไป 
        5. การสัมภาษณ์ครูใช้ตัวแทนครูอย่างน้อย 4 คน นักเรียนอย่างน้อยระดับชั้นละ 2 คน โดยพิจารณาให้เหมาะสมตามขนาดของโรงเรียน

        แบบรายงานการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรม มี 2 ตอน คือ 

    ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์กิจกรรมที่โรงเรียนจัดตามนโยบายฯ โดย Smart trainer สรุปจำนวนกิจกรรมของแต่ละชั้นเรียน ลงในแต่ละช่องตามเป้าหมายหลักของกิจกรรมที่ครอบคลุมหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา ได้แก่
    1. ด้านพุทธิศึกษา (Head) คือ ความรอบรู้วิชาการที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตการศึกษา และการเรียนรู้ 
    2. ด้านจริยศึกษา (Heart) คือ การมีศีลธรรมจรรยาที่ดี มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และมีสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม 
    3. ด้านหัตถศึกษา (Hand) คือ ความรู้และทักษะในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีต่องาน และเห็นคุณค่าของการทำงาน
    4. ด้านพลศึกษา (Health) คือการมีสุขภาพแข็งแรง การกินอาหารที่ถูกต้อง และการออกกำลังกายให้เหมาะสม รวมทั้งความสะอาดและสุขาภิบาลด้วย

    ตอนที่ 2 ผลการจัดกิจกรรมตามนโยบายฯ ของโรงเรียน ให้ Smart Trainer บันทึกผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ตามนโยบาย ที่เกิดขึ้น โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู และนักเรียน

https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/965245470196002?pnref=story

   กิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" กิจกรรมการทำดอกไม้จากกระดาษนิตยสาร โรงเรียนบ้านหัวอ่าว ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมีคณะติดตามมากจาก สพฐ. และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 มาเยี่ยมชมกิจกรรม
https://www.facebook.com/chongdeethongyai/posts/882054601909020

https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/963264303727452

        โรงเรียนบ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้จัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ การทอดผักสมุนไพรทอด นักเรียนมีความสนใจในการเรียน ทั้งได้ความรู้ และ สามารถนำไปใช้กับที่บ้านได้
        โรงเรียนบ้านหัวอ่าว ต.บางช้าง อ.สามพราน จ.นครปฐม ได้จัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ วันนี้เรามาเรียนการคณิตคิดสนุกกัน นักเรียนสนุกกับการคิดและระบายสีตามคำสั่ง



https://www.facebook.com/chongdeethongyai/posts/882051278576019

https://www.facebook.com/chongdeethongyai/posts/880590808722066?pnref=story

https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/960340250686524

https://www.facebook.com/prapaporn.sanokham/posts/806827882775981

12 มกราคม 2559

วันที่ 24 ธันวาคม 2558


ติดตามความเคลื่อนไหว 3

โพสต์28 พ.ย. 2558 06:39โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 14:01 ]

รายงานครั้งที่ 3 ST2 ครั้งที่ 2 + AAR ครั้งที่ 1 (ภาพรวมเขต) ภายใน 5 ธ.ค. 58

        ประเด็นการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ครั้งที่ 3 การนำผลการเตรียมสู่การปฏิบัติ : ภายในวันที่ 5 ธันวาคม 2558 หมวดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในหมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้ หมวดที่ 3 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม และหมวดที่ 4 สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิต ประกอบด้วยประเด็นการนิเทศ ติดตาม จำนวน 8 ประเด็น เช่นเดียวกับครั้งที่ 2 ได้แก่
    1. การเตรียมการจัดกิจกรรม : มีแผนการจัดกิจกรรม / กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา / สื่อหรือแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    2. การใช้สารสนเทศในการจัดกิจกรรม : การจัดสรรงบประมาณ / วางแผนการจัดกิจกรรม / จัดครูที่รับผิดชอบกิจกรรม / จัดกลุ่มผู้เรียน / รายงานผลการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    3. กระบวนการการจัดกิจกรรม : บอกผลที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ / กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการนำเข้าสู่กิจกรรม / เสริมแรงแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม / เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและแสดงความคิดเห็น / ผู้เรียนร่วมถกแถลงเมื่อจบกระบวนการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    4. การใช้สื่อในการจัดกิจกรรม : ใช้สื่อตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    5. การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรม : ใช้แหล่งเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    6. การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม : บุคลากรภายในโรงเรียน / ผู้ปกครอง / ภูมิปัญญาท้อง / ถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน / องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ / องค์กรหรือหน่วยงานภาคเอกชน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    7. การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม : การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย / บันทึกผลการประเมินการจัดกิจกรรม / สะท้อนผลการประเมินสู่ผู้เรียน / นำผลการประเมินไปใช้วางแผนพัฒนาผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    8. พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน : การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกล้าแสดงออก / ร่วมนำเสนอผลการเรียนรู้ของตนเองอย่างภาคภูมิ / ร่วมสรุปองค์ความรู้ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต 

    9. ข้อสรุป : สรุปสภาพการดำเนินงาน / ปัญหา-อุปสรรค ในการดำเนินงาน / ข้อเสนอแนะ



        สรุปข้อเสนอแนะ ของ พลเอกดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการประชุมรายงานความก้าวหน้าของ Smart Trainers ในการนิเทศติดตามการจัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ครั้งที่ 1 ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ (24 พย 58)

    1. แบ่งสัดส่วนการจัดกิจกรรมควรให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ 
        - Head (คิดวิเคราะห์เป็น)
        - Heart (จิตใจ ค่านิยม โดยเฉพาะการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
        - Hands (พัฒนาทักษะการทำงาน)
        - Health (มีสุขภาพอนามัยที่ดี) 
    ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียน, ความพร้อม, ความต้องการและเป้าหมายของโรงเรียน โดยโรงเรียนคำนึงถึง 3 มิติ ดังนี้
        1. มิติตามขนาดของโรงเรียน
        2. มิติที่ตั้งของโรงเรียน
        3. มิติตามช่วงวัยของผู้เรียน


    2. ควรหาเวลาหรือให้โอกาสเด็กนักเรียนได้ออกนอกโรงเรียนเพื่อศึกษาหาความรู้ข้างนอกโรงเรียน ;
        - อยากเห็นภาพที่นักเรียนยืนดูหรือศึกษาจากแหล่งสถานที่จริงโดยมีครูคอยตอบคำถามให้คำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิด(ครู1คน: นักเรียน 10 คน)

    3. โรงเรียนขนาดเล็ก เสนอแนะให้จัดกิจกรรมแยกเป็นวันๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ Head / วันอังคาร Heart / วันพุธ Hands / วันพฤหัสบดี Health / 
วันศุกร์ แบบองค์รวม 4 H


    4. อยากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด (Head) และ จิตสำนึก (Heart) ให้มากๆ เพราะนอกจากฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์แล้วยังใช้เงินน้อยด้วย (ไม่ต้องได้ลงทุนมาก)

    5. อยากเห็นหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้มาก ๆ

    6. อยากเห็นครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    7. กิจกรรมที่พัฒนาองค์รวมทั้ง 4 H ครูผู้สอนต้องจับประเด็นให้ได้ว่า กิจกรรมนั้นๆ นักเรียนได้พัฒนาทักษะด้านใด? อย่างไร? และเป็นกิจกรรมที่"กระแทก"เรื่องอะไร?

    8. กิจกรรมติวเด็กนักเรียนเรียนอ่อน (ทั้งภาษาไทย,คณิต,ภาษาอังกฤษ) อาจจัดในรูปแบบการเล่นเกมส์, การตอบปัญหา ฯลฯ)

    9. ขอฝากให้โรงเรียนจัดกิจกรรม "แยกสีดินน้ำมัน" เป็นการฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ และฝึกสมาธิด้วย (ไม่ได้ใช้เงินมาก)

    10. โรงเรียนขนาดเล็กมีครูจำนวนน้อย ควรจัดกิจกรรมแบบคละชั้นด้วย

    11. แนะนำให้โรงเรียนคัดเลือกกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ก่อนเป็นลำดับแรก และในโอกาสต่อไป สพฐ. จะจัดให้มีการพัฒนาครูผู้สอนให้เกิดทักษะเฉพาะด้าน (ขณะนี้กำลังเริ่มจัดอบรมครูผู้สอนพลศึกษา)

    12. โรงเรียนขนาดเล็กฝากให้เลขาธิการ กพฐ.(นายการุณ สกุลประดิษฐ์) เร่งจัดหางบประมาณลงไปช่วยสนับสนุนกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"

    13. สุดท้ายขอฝากให้ทุกโรงเรียนช่วยฝึกเด็กนักเรียนเวลายกมือไหว้ และกล่าวคำ "สวัสดีครับ" และ "สวัสดีค่ะ" ให้ถูกตัองชัดเจนด้วย (ไม่ลากเสียงยาวเกินไป)

การรายงานผลการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” 
ของสถานศึกษา

    1.ด้านความพร้อม รายงานตามหัวข้อ ได้แก่ ความสอดคล้องของการจัดตารางเรียนกับกิจกรรมการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้มีความเหมาะสมกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น / เอกสารประกอบการเรียนมีความชัดเจนและเหมาะสมกับกิจกรรมที่จัด / ครูมีการจัดเตรียมแผนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนด
 / ผู้บริหารบริหารจัดการโครงการอย่างเต็มศักยภาพ / สื่อและวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและเพียงพอ

    2. ด้านการดำเนินงาน หัวข้อที่รายงาน ได้แก่ 
        2.1 ประเภทของกิจกรรมที่จัด (สร้างสมรรถนะการเรียนรู้ (Head) / สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม (Heart)  / สร้างเสริมทักษะการทำงาน (Hand) / การดูแลสุขภาพ (Health)  
        2.2 ลักษณะการจัดกิจกรรม (จัดกิจกรรมรวมทั้ง 4 ประเภท ในวันเดียวกัน / จัดกิจกรรมแต่ละประเภทแยกเป็นรายวันๆ ละ 1 ประเภท)
        2.3 รายละเอียดการดำเนินงาน รายงานในหัวข้อ ต่าง ๆ ดังนี้ (มีการปรับตารางเรียนให้นักเรียนได้เรียนตามกิจกรรมที่กำหนด / มีครูประจำกิจกรรม-วิทยากรท้องถิ่น ในแต่ละกิจกรรม / นักเรียนได้เข้าเรียนกิจกรรมตามเวลาที่กำหนด / นักเรียนมีความสุข ตื่นตัว ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม / ครูจัดกิจกรรมได้ตามแผนที่กำหนด / ครูร่วมกิจกรรมกับนักเรียนได้อย่างมีความสุข / ชุมชน/หน่วยงานอื่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการดำเนินงาน / ผู้ปกครองและชุมชนตื่นตัว และให้ความสนใจในกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ / โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเหล่านี้หรือไม่ กิจกรรมพี่สอนน้อง-กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน-กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี และค่านิยม

    3. ด้านปัญหาอุปสรรค วิธีการแก้ไขและผลที่เกิดขึ้น รายงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรม ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านอื่น ๆ

    4. ด้านการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานอื่น



ภาพการดำเนินงาน "การนำผลการเตรียมสู่การปฏิบัติ และการการทบทวนผลการปฏิบัติ"

https://www.facebook.com/groups/175967855827452/permalink/919657544791809/

https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/925509040836312?pnref=story

วันที่ 8 ธันวาคม 2558


ติดตามความเคลื่อนไหว 2

โพสต์17 พ.ย. 2558 19:16โดยWebmaster Supervisory   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 14:10 ]

        ประเด็นการนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ครั้งที่ 2  ระยะที่ 2 การนำผลการเตรียมสู่การปฏิบัติ : เดือนพฤศจิกายน 2558  หมวดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในหมวดที่ 2 สร้างเสริมสมรรถนะและการเรียนรู้  หมวดที่ 3 สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม และหมวดที่ 4 สร้างเสริมทักษะการทำงาน การดำรงชีพและทักษะชีวิต ประกอบด้วยประเด็นการนิเทศ ติดตาม จำนวน 8 ประเด็น ได้แก่

    1. การเตรียมการจัดกิจกรรม : มีแผนการจัดกิจกรรม / กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา / สื่อหรือแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    2. การใช้สารสนเทศในการจัดกิจกรรม : การจัดสรรงบประมาณ / วางแผนการจัดกิจกรรม / จัดครูที่รับผิดชอบกิจกรรม / จัดกลุ่มผู้เรียน / รายงานผลการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    3. กระบวนการการจัดกิจกรรม : บอกผลที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ / กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการนำเข้าสู่กิจกรรม / เสริมแรงแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม / เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและแสดงความคิดเห็น / ผู้เรียนร่วมถกแถลงเมื่อจบกระบวนการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    4. การใช้สื่อในการจัดกิจกรรม : ใช้สื่อตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    5. การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรม : ใช้แหล่งเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    6. การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม : บุคลากรภายในโรงเรียน / ผู้ปกครอง / ภูมิปัญญาท้อง / ถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน / องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ / องค์กรหรือหน่วยงานภาคเอกชน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    7. การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม : การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย / บันทึกผลการประเมินการจัดกิจกรรม / สะท้อนผลการประเมินสู่ผู้เรียน / นำผลการประเมินไปใช้วางแผนพัฒนาผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต

    8. พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน : การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกล้าแสดงออก / ร่วมนำเสนอผลการเรียนรู้ของตนเองอย่างภาคภูมิ / ร่วมสรุปองค์ความรู้ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต 

    9. ข้อสรุป : สรุปสภาพการดำเนินงาน / ปัญหา-อุปสรรค ในการดำเนินงาน / ข้อเสนอแนะ

ภาพการดำเนินงาน "การนำผลการเตรียมสู่การปฏิบัติ"

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/922662091121007

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=924395917629573&id=100001775213114

https://www.facebook.com/fishpakpao/posts/1016215151734446

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/groups/209749122470627/permalink/794099107368956/


วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/fishpakpao/posts/1014305578592070

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/latanut.siri/posts/1153318371364121




วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/naphaphan108/posts/644034585737068


วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/groups/175967855827452/permalink/910411749049722/



วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/groups/175967855827452/permalink/910411749049722/
                                   
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=916139641788534&id=100001775213114

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=862145107233544&id=100003141874081&pnref=story



ติดตามความเคลื่อนไหว 1

โพสต์17 พ.ย. 2558 07:05โดยไม่ทราบผู้ใช้   [ อัปเดต 2 ก.ค. 2562 14:15 โดย Webmaster Supervisory ]

การนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 การเตรียมการ : เดือนตุลาคม 2558

        ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และรายงานข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และข้อมูลการเตรียมการเพื่อความพร้อมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่

1. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน / ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” / ศึกษาเอกสารคู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน“ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” / กำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จอย่างชัดเจน / จัดทำแผนการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”

2. แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนและการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (สร้างความเข้าใจการนำนโยบายสู่การปฏิบัติแก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง / ปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม / เลือกกำหนดกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการและวุฒิภาวะของผู้เรียน / ส่งเสริม สนับสนุน ปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ / กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ)

3. การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”  (มีการประชุมชี้แจงครูและบุคลากรในโรงเรียน / มีการประชุมชี้แจงนักเรียน / มีการประชุมชี้แจงผู้ปกครอง / มีการประชุมชี้แจงกรรมการสถานศึกษา / มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบ)

4. การจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน (จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล / จัดทำข้อมูลสารสนเทศจำแนกเป็นระดับชั้นเรียน / การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล / การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ / การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรม)

5. การจัดทำโครงสร้างเวลาเรียน (วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา / วิเคราะห์ความพร้อมของโรงเรียนด้านครูผู้สอน สื่อ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ / จัดโครงสร้างเวลาเรียนตามความต้องการของผู้เรียน / ปรับโครงสร้างเวลาเรียนตามความพร้อมของโรงเรียน / ออกแบบตารางเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” / ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้)

6. การคัดเลือกรูปแบบกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (เลือกรูปแบบกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน / เลือกรูปแบบกิจกรรมตามบริบทของโรงเรียน / กำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรมชัดเจน / ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา / ดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมตามตารางเรียนที่กำหนด)

7. การออกแบบกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (ครอบคลุมหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา / ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง / เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน / คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล / มีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง)

8. การส่งเสริมสนับสนุนของโรงเรียน (บุคลากร / งบประมาณ / วัสดุ อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ /  การประสานงานองค์กรภายนอก)

9. การจัดระบบการนิเทศภายใน (แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ / ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง / กำหนดกรอบการนิเทศ / จัดทำปฏิทินการนิเทศ / จัดทำแบบบันทึกการนิเทศ)

10. การทบทวนหลังการปฏิบัติ (แต่งตั้งคณะกรรมการ / วางแผนการทบทวน / กำหนดประเด็นในการทบทวน / กำหนดระยะเวลาในการทบทวน / การวางแผนใช้ผลการทบทวน)

11. ข้อสรุปในภาพรวม (สรุปสภาพความพร้อมในการเตรียมการ / ปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมการ / ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา)

ภาพความเคลื่อนไหวของการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของโรงเรียนต่าง ๆ ในสังกัด สพป.นครปฐม เขต 2

https://www.facebook.com/rung.watvong/posts/922462187807664?pnref=story

https://www.facebook.com/fishpakpao/posts/1013577385331556
https://www.facebook.com/fishpakpao/posts/1013567188665909
https://www.facebook.com/fishpakpao/posts/1013573021998659

https://www.facebook.com/watsai.school/posts/898065650289332



https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=862137633900958&id=100003141874081&pnref=story

1-7 of 7