การนิเทศ ติดตามผลการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ครั้งที่ 1 ระยะที่ 1 การเตรียมการ : เดือนตุลาคม 2558
ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และรายงานข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียน และข้อมูลการเตรียมการเพื่อความพร้อมในการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่
1. การเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน / ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” / ศึกษาเอกสารคู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน“ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้” / กำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จอย่างชัดเจน / จัดทำแผนการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”
2. แนวทางการบริหารจัดการเวลาเรียนและการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (สร้างความเข้าใจการนำนโยบายสู่การปฏิบัติแก่ครูและผู้เกี่ยวข้อง / ปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม / เลือกกำหนดกิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการและวุฒิภาวะของผู้เรียน / ส่งเสริม สนับสนุน ปัจจัยให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ / กำกับ ติดตามการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบ)
3. การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (มีการประชุมชี้แจงครูและบุคลากรในโรงเรียน / มีการประชุมชี้แจงนักเรียน / มีการประชุมชี้แจงผู้ปกครอง / มีการประชุมชี้แจงกรรมการสถานศึกษา / มีการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนทราบ)
4. การจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับความสนใจ ความถนัด และความต้องการของผู้เรียน (จัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล / จัดทำข้อมูลสารสนเทศจำแนกเป็นระดับชั้นเรียน / การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล / การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ / การจัดทำสารสนเทศเกี่ยวกับผู้สนับสนุนการจัดกิจกรรม)
5. การจัดทำโครงสร้างเวลาเรียน (วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา / วิเคราะห์ความพร้อมของโรงเรียนด้านครูผู้สอน สื่อ แหล่งเรียนรู้ อาคารสถานที่ / จัดโครงสร้างเวลาเรียนตามความต้องการของผู้เรียน / ปรับโครงสร้างเวลาเรียนตามความพร้อมของโรงเรียน / ออกแบบตารางเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” / ออกแบบกิจกรรมต่าง ๆ ในลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้)
6. การคัดเลือกรูปแบบกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (เลือกรูปแบบกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน / เลือกรูปแบบกิจกรรมตามบริบทของโรงเรียน / กำหนดระยะเวลาการจัดกิจกรรมชัดเจน / ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา / ดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมตามตารางเรียนที่กำหนด)
7. การออกแบบกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” (ครอบคลุมหลักองค์ 4 แห่งการศึกษา / ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง / เชื่อมโยงกับชีวิตจริงของผู้เรียน / คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล / มีการประสานความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง)
8. การส่งเสริมสนับสนุนของโรงเรียน (บุคลากร / งบประมาณ / วัสดุ อุปกรณ์ / แหล่งเรียนรู้ / การประสานงานองค์กรภายนอก)
9. การจัดระบบการนิเทศภายใน (แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ / ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง / กำหนดกรอบการนิเทศ / จัดทำปฏิทินการนิเทศ / จัดทำแบบบันทึกการนิเทศ)
10. การทบทวนหลังการปฏิบัติ (แต่งตั้งคณะกรรมการ / วางแผนการทบทวน / กำหนดประเด็นในการทบทวน / กำหนดระยะเวลาในการทบทวน / การวางแผนใช้ผลการทบทวน)
11. ข้อสรุปในภาพรวม (สรุปสภาพความพร้อมในการเตรียมการ / ปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมการ / ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา)