รายงานครั้งที่ 3 ST2 ครั้งที่ 2 + AAR ครั้งที่ 1 (ภาพรวมเขต) ภายใน 5 ธ.ค. 58
1. การเตรียมการจัดกิจกรรม : มีแผนการจัดกิจกรรม / กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / กิจกรรมเหมาะสมกับเวลา / สื่อหรือแหล่งเรียนรู้สอดคล้องกับกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
2. การใช้สารสนเทศในการจัดกิจกรรม : การจัดสรรงบประมาณ / วางแผนการจัดกิจกรรม / จัดครูที่รับผิดชอบกิจกรรม / จัดกลุ่มผู้เรียน / รายงานผลการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
3. กระบวนการการจัดกิจกรรม : บอกผลที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบ / กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนในการนำเข้าสู่กิจกรรม / เสริมแรงแก่ผู้เรียนอย่างเหมาะสม / เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและแสดงความคิดเห็น / ผู้เรียนร่วมถกแถลงเมื่อจบกระบวนการจัดกิจกรรม / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
4. การใช้สื่อในการจัดกิจกรรม : ใช้สื่อตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
5. การใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรม : ใช้แหล่งเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม / เหมาะสมกับผู้เรียน / เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน / เร้าความสนใจของผู้เรียน / ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
6. การมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม : บุคลากรภายในโรงเรียน / ผู้ปกครอง / ภูมิปัญญาท้อง / ถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน / องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐ / องค์กรหรือหน่วยงานภาคเอกชน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
7. การวัดและประเมินผลการจัดกิจกรรม : การใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลตามที่กำหนดในแผนการจัดกิจกรรม / เครื่องมือวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย / บันทึกผลการประเมินการจัดกิจกรรม / สะท้อนผลการประเมินสู่ผู้เรียน / นำผลการประเมินไปใช้วางแผนพัฒนาผู้เรียน / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
8. พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน : การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม / มีความกล้าแสดงออก / ร่วมนำเสนอผลการเรียนรู้ของตนเองอย่างภาคภูมิ / ร่วมสรุปองค์ความรู้ / ข้อค้นพบ-ข้อสังเกต
9. ข้อสรุป : สรุปสภาพการดำเนินงาน / ปัญหา-อุปสรรค ในการดำเนินงาน / ข้อเสนอแนะ
1. แบ่งสัดส่วนการจัดกิจกรรมควรให้ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ
- Head (คิดวิเคราะห์เป็น)
- Heart (จิตใจ ค่านิยม โดยเฉพาะการรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
- Hands (พัฒนาทักษะการทำงาน)
- Health (มีสุขภาพอนามัยที่ดี)
ขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียน, ความพร้อม, ความต้องการและเป้าหมายของโรงเรียน โดยโรงเรียนคำนึงถึง 3 มิติ ดังนี้
1. มิติตามขนาดของโรงเรียน
2. มิติที่ตั้งของโรงเรียน
3. มิติตามช่วงวัยของผู้เรียน
2. ควรหาเวลาหรือให้โอกาสเด็กนักเรียนได้ออกนอกโรงเรียนเพื่อศึกษาหาความรู้ข้างนอกโรงเรียน ;
- อยากเห็นภาพที่นักเรียนยืนดูหรือศึกษาจากแหล่งสถานที่จริงโดยมีครูคอยตอบคำถามให้คำแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิด(ครู1คน: นักเรียน 10 คน)
3. โรงเรียนขนาดเล็ก เสนอแนะให้จัดกิจกรรมแยกเป็นวันๆ ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ Head / วันอังคาร Heart / วันพุธ Hands / วันพฤหัสบดี Health /
วันศุกร์ แบบองค์รวม 4 H
4. อยากให้โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านกระบวนการคิด (Head) และ จิตสำนึก (Heart) ให้มากๆ เพราะนอกจากฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์แล้วยังใช้เงินน้อยด้วย (ไม่ต้องได้ลงทุนมาก)
5. อยากเห็นหน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้มาก ๆ
6. อยากเห็นครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอน มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้นักเรียนแสวงหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. กิจกรรมที่พัฒนาองค์รวมทั้ง 4 H ครูผู้สอนต้องจับประเด็นให้ได้ว่า กิจกรรมนั้นๆ นักเรียนได้พัฒนาทักษะด้านใด? อย่างไร? และเป็นกิจกรรมที่"กระแทก"เรื่องอะไร?
8. กิจกรรมติวเด็กนักเรียนเรียนอ่อน (ทั้งภาษาไทย,คณิต,ภาษาอังกฤษ) อาจจัดในรูปแบบการเล่นเกมส์, การตอบปัญหา ฯลฯ)
9. ขอฝากให้โรงเรียนจัดกิจกรรม "แยกสีดินน้ำมัน" เป็นการฝึกให้เด็กคิดวิเคราะห์ และฝึกสมาธิด้วย (ไม่ได้ใช้เงินมาก)
10. โรงเรียนขนาดเล็กมีครูจำนวนน้อย ควรจัดกิจกรรมแบบคละชั้นด้วย
11. แนะนำให้โรงเรียนคัดเลือกกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ก่อนเป็นลำดับแรก และในโอกาสต่อไป สพฐ. จะจัดให้มีการพัฒนาครูผู้สอนให้เกิดทักษะเฉพาะด้าน (ขณะนี้กำลังเริ่มจัดอบรมครูผู้สอนพลศึกษา)
12. โรงเรียนขนาดเล็กฝากให้เลขาธิการ กพฐ.(นายการุณ สกุลประดิษฐ์) เร่งจัดหางบประมาณลงไปช่วยสนับสนุนกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้"
13. สุดท้ายขอฝากให้ทุกโรงเรียนช่วยฝึกเด็กนักเรียนเวลายกมือไหว้ และกล่าวคำ "สวัสดีครับ" และ "สวัสดีค่ะ" ให้ถูกตัองชัดเจนด้วย (ไม่ลากเสียงยาวเกินไป)
การรายงานผลการดำเนินงาน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ของสถานศึกษา / ผู้บริหารบริหารจัดการโครงการอย่างเต็มศักยภาพ / สื่อและวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมและเพียงพอ 2. ด้านการดำเนินงาน หัวข้อที่รายงาน ได้แก่ 2.1 ประเภทของกิจกรรมที่จัด (สร้างสมรรถนะการเรียนรู้ (Head) / สร้างเสริมคุณลักษณะและค่านิยม (Heart) / สร้างเสริมทักษะการทำงาน (Hand) / การดูแลสุขภาพ (Health) 2.2 ลักษณะการจัดกิจกรรม (จัดกิจกรรมรวมทั้ง 4 ประเภท ในวันเดียวกัน / จัดกิจกรรมแต่ละประเภทแยกเป็นรายวันๆ ละ 1 ประเภท) 2.3 รายละเอียดการดำเนินงาน รายงานในหัวข้อ ต่าง ๆ ดังนี้ (มีการปรับตารางเรียนให้นักเรียนได้เรียนตามกิจกรรมที่กำหนด / มีครูประจำกิจกรรม-วิทยากรท้องถิ่น ในแต่ละกิจกรรม / นักเรียนได้เข้าเรียนกิจกรรมตามเวลาที่กำหนด / นักเรียนมีความสุข ตื่นตัว ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม / ครูจัดกิจกรรมได้ตามแผนที่กำหนด / ครูร่วมกิจกรรมกับนักเรียนได้อย่างมีความสุข / ชุมชน/หน่วยงานอื่น เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการดำเนินงาน / ผู้ปกครองและชุมชนตื่นตัว และให้ความสนใจในกิจกรรมที่โรงเรียนดำเนินการ / โรงเรียนได้จัดกิจกรรมเหล่านี้หรือไม่ กิจกรรมพี่สอนน้อง-กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน-กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคี และค่านิยม 3. ด้านปัญหาอุปสรรค วิธีการแก้ไขและผลที่เกิดขึ้น รายงานในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรม ด้านผู้เรียน ด้านครูผู้สอน และด้านอื่น ๆ |