วิชาความสุข คือ หนังสารคดีที่จะทำหน้าที่เชื่อมร้อยความรู้แห่งแผ่นดินที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้ให้แก่คนไทย เพื่อเป็นการบอกให้คนไทยทุกคนได้รู้ว่า ศาสตร์พระราชา เป็นมากกว่าวิชาที่ว่าด้วย ดิน น้ำ ป่า นา แต่คือหลักปรัชญา ที่เป็นสัจจะความจริง ที่จะทำให้ผู้ลงมือปฏิบัติ ปฏิบัติตามได้อย่างเข้าใจ และเข้าถึงความสุขที่ยั่งยืน เริ่มจากการ “ถอดรหัส” ว่าในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเห็นอะไร?
เริ่มจากปี 2547 ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเตือนคนไทยผ่าน ส.ค.ส. ถึงวิกฤตต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น ทั้งวิกฤตสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ หรือแม้แต่วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง รวมไปถึงการ “ถอดรหัส” ถึงเหตุผลว่า ทำไม... พระองค์ถึงต้องมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริถึง 4,689 โครงการ ซึ่ง 3,204 โครงการเป็นโครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โดยการถอดรหัสในครั้งนี้ จะเป็นการถอดรหัสผ่านบุคคลจากหลายแวดวงในสังคม ทั้งนักธุรกิจ นักเศรษฐศาสตร์ อาจารย์ นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่เข้าใจและเข้าถึงรหัสที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงตั้งขึ้น แต่การถอดรหัสในครั้งนี้จะสรุปออกมาแล้วคืออะไร และ การถอดรหัสจะนำความสุขอย่างยั่งยืนมาสู่คนไทยได้อย่างไร
“เราเคยผิดพลาดมาก่อน และเราก็ไปเรียนรู้สิ่งที่พระองค์ท่านทรงทำ และเราก็มาทำตามพระองค์ท่าน มันเลยเกิดความศรัทธา ความศรัทธาผมว่าสำคัญที่สุดเลย เพราะงานของเรามันใหญ่มาก.....” (ผศ. พิเชฐ โสวิทยสกุล นักวิชาการ ผู้ต้องการพิสูจน์ศาสตร์พระราชา ด้วยหลักฐานทางวิชาการ)
“ตอนนี้มันเหมือนพลังเล็ก ๆ เหมือนคนถือเทียนมาคนละเล่ม ทั่วประเทศแค่จุดเทียนคนละเล่ม เชื่อว่าประเทศไทยก็จะมีแสงสว่างเป็นพลังมหาศาล แค่จุดเล็ก ๆ คนละจุด ก็คาดหวังว่าการทำจากจุดเล็ก ๆ มันจะเป็นจุดใหญ่ได้ เชื่อว่าอย่างนั้น” (ผู้ใหญ่ สมศักดิ์ เครือวัลย์ เกษตรกรผู้น้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้จนสามารถปลดหนี้ได้)
วิชาความสุข...จะพาทุกคนหยุดรีบ แล้วเริ่มคิดตามไปด้วยกัน กับสิ่งที่เราเคยได้ยินว่า คำสอนต่าง ๆ ของในหลวง รัชกาลที่ 9 แท้จริงนั้นคืออะไร และพบกับบุคคลที่มี “ศรัทธา” เต็มเปี่ยม จนน้อมนำศาสตร์พระราชา นำเอาทฤษฎีมาปฏิบัติ และน้อมนำหลักปรัชญา มาเป็นพลังในการสร้างความสุขให้กับชีวิต
แม้จะพบวิถีแห่งความสุขบนพื้นฐานความพอดี แต่เพราะความสุขโดยลำพังมิอาจสร้างความสุขที่ยั่งยืนได้ ท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความผันผวน 2 กลุ่มเกษตรรุ่นใหม่ คือ “ชาวนาไทอิสาน” ชาวนาเลือดใหม่จากจังหวัดต่าง ๆ ในดินแดนที่ราบสูง และ “ม่วนใจ๋” กลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีธรรมชาติ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ จึงลุกขึ้นมารวมพลังคนในเครือข่าย แบ่งปันองค์ความรู้ กำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ให้แก่ผู้อื่น เพื่อสร้างสังคมแห่งความพออยู่พอกิน เกื้อกูลกันระหว่างคนกับคน และคนกับธรรมชาติ อันจะนำไปสู่สังคมที่ร่มเย็นเป็นสุขโดยแท้จริง เช่นดัง พระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 5 พฤษภาคม 2491 ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานความว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” “ประโยชน์สุข” เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถเกิดกับใครได้บ้าง ติดตามชม
ตอนที่ 4 : จิตสำนึกใหม่ http://www.thaipbs.or.th/Live วิชาความสุขสัปดาห์นี้จะพาไปพบกับ “โจน จันใด” ผู้ที่เลือกเดินสวนทางออกจากกระแสหลัก เพื่อหาเส้นทางสายใหม่ที่ทำให้ชีวิตของเขายั่งยืน ด้วยศาสตร์ของพระราชา ที่เขาได้ทดลองปฏิบัติ และพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ศาสตร์พระราชาไม่ใช่เพียงวิถีของคนยากคนจน แต่กลับเป็นวิชาที่เดินบนทางสายกลางแบบไม่สุดโต่งและไม่ล้าหลัง ซึ่งก็เหมาะกับสังคมในปัจจุบัน และเมื่อพิสูจน์กับตัวเองได้ผล วิชาความสุขนี้จึงถูกส่งต่อให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่จากหลายอาชีพ ที่เชื่อมั่นในวิถีทางที่พวกเขาเลือกและตัดสินใจดีแล้ว พวกเขานำศาสตร์ของพระราชามาปฏิบัติจนเข้าถึงแก่นแท้แห่งวิชา จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และพบกับโครงการดี ๆ อย่าง “พอแล้วดี THE CREATOR” โครงการที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับการทำธุรกิจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่จะเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงเกษตรกรเท่านั้นที่จะนำมาปรับใช้ในชีวิต แต่ยังหมายถึงใครก็ได้ที่เชื่อมั่น และตั้งใจปฏิบัติตาม เพื่อพาตัวเองไปสู่ความสุขที่ยั่งยืน | "พอแล้วดี The Creator"
โครงการ “พอแล้วดี The Creator” มีเป้าหมายที่จะนำ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาผสมผสานกับความสร้างสรรค์ (ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะแต่ภาคเกษตรกรรม) นำมาต่อยอดในกระบวนการเรียนรู้ เพื่อสร้างความสุข ความพอใจ และความสมดุล ให้กับทั้งการใช้ชีวิตในเมืองและต่างจังหวัดของผู้ประกอบการ จากสายของธุรกิจ lifestyle business เช่น ร้านคาเฟ่ เกสท์เฮ้าส์ ร้านแฟชั่น เป็นต้น โดยบ่มเพาะนักธุรกิจที่กำลังเติบโตเหล่านี้ให้รู้จัก จุดพอดีของชีวิต แล้วดีพอที่จะเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น ซึ่งกลุ่ม The Creator ที่เข้าร่วมก็จะเป็นแบบอย่างที่เป็นบทพิสูจน์ของการดำเนินธุรกิจแบบพอเพียงให้กับผู้สนใจต่อไป เพื่อสร้างทัศนคติและวิถีการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน
- พอแล้วดี TheCreator > คลิก
- พอแล้วดี เรื่องการตีความ > คลิก
- หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ดร.ศิริกุล เลากัยกุล > คลิก
พอแล้วดี The Creator รุ่น 1: - คุณพอต ไร่สุขพ่วง จ.ราชบุรี > คลิก
- คุณใหม่ บ้านไก่ม่วน จ.ลำพูน > คลิก - คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล > คลิก พอแล้วดี The Creator รุ่น 2 :
- กลุ่มธุรกิจที่พัก > คลิก
- กลุ่มธุรกิจอาหาร > คลิก
- กลุ่มธุรกิจแฟชั่น > คลิก
- กลุ่มธุรกิจข้าว > คลิก
- กลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์ > คลิก - กลุ่มธุรกิจของใช้ในชีวิตประจำวัน > คลิก
พอแล้วดี The Creator รุ่น 3 :
- คุณเปิ้ล ไร่รื่นรมย์ > คลิก
- สร้าง Brand Model ด้วยความพอดี โดย ดร.ศิริกุล เลากัยกุล
#1 > คลิก
#2 > คลิก - เรียนรู้วิถีพอเพียงผสานความคิดสร้างสรรค์สู่การต่อยอดธุรกิจที่ยั่งยืน > คลิก
พอแล้วดี The Creator รุ่นที่ 4
- มารู้จักกับ พอแล้วดี The Creator รุ่น 4 > คลิก
- การสร้างแบรนด์อย่างพอเพียง (1/2) > คลิก
- การสร้างแบรนด์อย่างพอเพียง (2/2) > คลิก
- คนเปลี่ยนโลก TAPE 16 ตามรอยพระราชา > 1/3 | 2/3 | 3/3 Sufficiency Economy Philosophy นำไปบูรณาการสอดแทรกไว้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ น่าจะเกิดประโยชน์ยิ่ง - What is Sufficiency Economy? > คลิก
- What is Economy? > คลิก
- What is an Economy? - economic systems > คลิก
- Economy Definition for Kids > คลิก
- The Economy and Economics for Kids > คลิก
- Econ Vids for Kids: What is Money? > คลิก
- Econ Vids for Kids: What is Inflation? > คลิก
- What is an Investment? Lessons in Money for Kids! > คลิก
- Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development Goals - 'SEP4SDG' > คลิก
- Sufficient economy - New Agricultural Theory > คลิก
|
โครงการพิเศษ >