17 ส.ค.61
สพฐ. เผยแพร่ “แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 และแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พ.ศ.2561”
1. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561 ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 นั้น เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปตามเจตนารมณ์ตามกฎกรวงฯ สทศ.สพฐ. จึงได้จัดดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานฯ ดังนี้
1.1) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ซึ่งลงนามโดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร) ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561
1.2) แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
2. สทศ.สพฐ.ได้จัดส่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว และได้มีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวในเว็บไซต์ของ สทศ.สพฐ.
3. สถานศึกษาสามารถนำ “เอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ”ดังกล่าว ไปใช้เป็นกรอบในการประเมินตนเอง (Self-Assessment) หลังจากนั้น สถานศึกษาจึงจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับใด (จากระดับคุณภาพจำนวน 5 ระดับ) พร้อมมีการนำเสนอข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ และแผนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้นต่อไปอย่างไร โดยการจัดทำ SAR ไม่มีโครงสร้างตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับบริบท สภาพ และความต้องการของสถานศึกษา ไม่เน้นจำนวนหน้าของเอกสาร แต่ SAR ควรสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น
4. ขณะที่สถานศึกษากำลังดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถที่จะประเมินตนเอง (Self-Assessment) ได้ในทุกช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน เพื่อสะท้อนว่าคุณภาพสถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับใด (ณ เวลาที่ประเมิน) ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ที่เป็นอยู่/มีอยู่ในขณะนั้นสนับสนุนผลการประเมิน/คุณภาพของสถานศึกษา
5. สถานศึกษาสังกัด สพฐ.จำนวน 4,500 แห่ง (กลุ่ม รร.ประชารัฐ) จะเป็นกลุ่มแรกที่จะเข้ารับการประเมินภายนอก รุ่นแรก ปี 2561 โดยสถานศึกษากลุ่มนี้จะต้อง self assessment ตามกรอบมาตรฐานสถานศึกษา (ดำเนินการภายในสิงหาคม 2561)และจัดทำ sar แบบใหม่ ส่งมายังต้นสังกัด เพื่อรวบรวมส่ง สมศ.ต่อไป (คาดว่าน่าจะประเมินได้ราวเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561
6. สพฐ.มีหน้าที่พัฒนาผู้ประเมินภายนอกจากกลุ่มหน่วยงานต้นสังกัดและกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และ สมศ.มีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประเมินคุณภาพภายนอก
- ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ (17 สิงหาคม 2561) > คลิก
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 (16 สิงหาคม พ.ศ. 2561) > คลิก
- แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ > คลิก
สพฐ. เผยแพร่ “แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 และแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา พ.ศ.2561”
1. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ.2561 ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 นั้น เพื่อให้การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาเป็นไปตามเจตนารมณ์ตามกฎกรวงฯ สทศ.สพฐ. จึงได้จัดดำเนินการจัดทำแนวทางการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางดำเนินงานฯ ดังนี้
1.1) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 ซึ่งลงนามโดยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นายบุญรักษ์ ยอดเพชร) ณ วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561
1.2) แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ
2. สทศ.สพฐ.ได้จัดส่งเอกสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว และได้มีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าวในเว็บไซต์ของ สทศ.สพฐ.
3. สถานศึกษาสามารถนำ “เอกสารแนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ”ดังกล่าว ไปใช้เป็นกรอบในการประเมินตนเอง (Self-Assessment) หลังจากนั้น สถานศึกษาจึงจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาอยู่ในระดับใด (จากระดับคุณภาพจำนวน 5 ระดับ) พร้อมมีการนำเสนอข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ และแผนการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา เพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้นต่อไปอย่างไร โดยการจัดทำ SAR ไม่มีโครงสร้างตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับบริบท สภาพ และความต้องการของสถานศึกษา ไม่เน้นจำนวนหน้าของเอกสาร แต่ SAR ควรสะท้อนให้เห็นคุณภาพของการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น
4. ขณะที่สถานศึกษากำลังดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษานั้น สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถที่จะประเมินตนเอง (Self-Assessment) ได้ในทุกช่วงเวลาของการปฏิบัติงาน เพื่อสะท้อนว่าคุณภาพสถานศึกษามีคุณภาพอยู่ในระดับใด (ณ เวลาที่ประเมิน) ตามกรอบมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา โดยใช้ข้อมูล หลักฐาน เอกสารเชิงประจักษ์ที่เป็นอยู่/มีอยู่ในขณะนั้นสนับสนุนผลการประเมิน/คุณภาพของสถานศึกษา
5. สถานศึกษาสังกัด สพฐ.จำนวน 4,500 แห่ง (กลุ่ม รร.ประชารัฐ) จะเป็นกลุ่มแรกที่จะเข้ารับการประเมินภายนอก รุ่นแรก ปี 2561 โดยสถานศึกษากลุ่มนี้จะต้อง self assessment ตามกรอบมาตรฐานสถานศึกษา (ดำเนินการภายในสิงหาคม 2561)และจัดทำ sar แบบใหม่ ส่งมายังต้นสังกัด เพื่อรวบรวมส่ง สมศ.ต่อไป (คาดว่าน่าจะประเมินได้ราวเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2561
6. สพฐ.มีหน้าที่พัฒนาผู้ประเมินภายนอกจากกลุ่มหน่วยงานต้นสังกัดและกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา และ สมศ.มีหน้าที่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการประเมินคุณภาพภายนอก
- ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ (17 สิงหาคม 2561) > คลิก
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวปฏิบัติการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2561 (16 สิงหาคม พ.ศ. 2561) > คลิก
- แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ > คลิก
สถานศึกษาต้องดำเนินการในทุกองค์ประกอบของระบบ ได้แก่
- กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา
- ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้
- ประเมินและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
- ติดตามผลการดำเนินการ
- รายงานผลการประเมินตนเอง
- จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้ผู้เกี่ยวข้อง
ที่มา : กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561