
เอกสาร / คู่มือ
![]() ![]() ![]() ![]() โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านพลังงานเสริม
ในหลักสูตรประถมและมัธยมศึกษา
คู่มือครูนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เสริมในการเรียน การสอน ด้านพลังงานแบบบูรณาการของโครงการวิจัย “โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการด้านพลังงานเสริมในหลักสูตรประถมและมัธยมศึกษา (ปีที่ ๒)” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คู่มือครูนี้ ได้ออกแบบและจัดทำให้สอดคล้องกับความรู้ของนักเรียนในแต่ละระดับชั้นการศึกษาตามสาระการเรียนรู้แกนกลางตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ คำศัพท์วิชาการที่ใช้ส่วนใหญ่อ้างอิงจาก พจนานุกรมศัพท์พลังงาน (อังกฤษ-ไทย) ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๑) คู่มือครูชุดนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนในประเทศไทยโดยมีการเพิ่มสาระด้านพลังงาน เพื่อทำให้คุณครูสามารถนำไปใช้เพื่อประกอบการเรียน การสอน ให้แก่นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของพลังงาน ตลอดจนสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันทั้งในปัจจุบันและในอนาคตซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาพลังงานของประเทศไทยอย่างยั่งยืนสืบไป
คู่มือครู วิชาภาษาไทย
สื่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() หน่วยที่ 15
![]() ![]()
เสียงสระในภาษาไทยมี ๓๒ เสียง แบ่งออกเป็นสระเสียงสั้น (รัสสระ) และ สระเสียงยาว (ทีฆสระ) หรืออาจเรียกว่าสระสั้น สระยาว ก็ได้เช่นกัน
เสียงสระ จำแนกออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ๑. สระเดี่ยว หรือ สระแท้ มีเสียงสั้น-ยาวเป็นคู่กัน ดังนี้ อะ-อา/ อิ-อี/ อึ-อือ/ อุ-อู/ เอะ-เอ/ แอะ-แอ/ โอะ-โอ /เอาะ-ออ/ เออะ-เออ ๒. สระประสม เป็นเสียงสระเดี่ยว ๒ เสียงประสมกัน มีเสียงสั้น-ยาว เป็นคู่ ดังนี้ เอียะ(อิ+อะ) - เอีย(อี+อา) เอือะ(อึ+อะ) - เอือ(อือ+อา) อัวะ(อุ+อะ) - อัว(อู+อา) ๓. สระเกิน เป็นเสียงสระที่มีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ มีดังนี้ อำ(อะ+ม) ไอ(อะ+ย) ใอ(อะ+ย) เอา(อะ+ว) ฤ(ร+อึ) ฤๅ(ร+อือ) ฦ(ล+อึ) ฦๅ(ล+อือ) สระกลุ่มนี้จัดว่าเป็นสระเสียงสั้นทั้งหมด ยกเว้น ฤๅ ฦๅ นวัตกรรมภาษาไทย
ที่เว็บไซต์ ห้องนิเทศออนไลน์ นายคำตา อ้วนสาเล ศึกษานิเทศก์ สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 ท่านได้เผยแพร่นวัตกรรมการอ่านเขียนภาษาไทย ของคุณครูที่ สพป.หนองบัวลำภู เขต 1 มีหลายนวัตกรรมและน่าสนใจ ขอขอบคุณท่าน ศน.คำตา ที่ได้กรุณาเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว การสอนให้นักเรียนสามารถเขียนคล่อง เขียนเร็ว อ่านคล่อง และอ่านเร็ว เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ครูที่จะสอนให้นักเีรียนเกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้ นอกจากจะเอาใจใส่ หาสื่อมาใช้อย่างหลากหลาย ให้นักเรียนได้ฝึกอย่างต่อเนื่อง และใช้วิธีส่งเสริมการอ่านและเขียนเข้าไปช่วยแล้ว นักเรียนและผู้ปกครองยังมีส่วนสำคัญด้วย การสอนที่ยากไปกว่าสอนให้อ่านคล่อง อ่านเร็ว เขียนคล่อง เขียนเร็วก็คือการสอนให้นักเรียนอ่านเป็น และเขียนเป็น ทั้งนี้เพราะการอ่าน การเขียนระดับนี้ จะต้องใช้ทักษะการคิดเข้าไปใช้ด้วย ครูจะต้องฝึกให้นักเรียน รู้จัดการคิด แล้วเขียนความคิดออกมาให้คนอื่นรู้ เช่น ถ้าครูชูภาพใดภาพหนึ่งให้นักเรียนดู นักเรียนมีความคิด มีความรู้สึกต่อภาพนั้นอย่างไร แล้วเขียนความคิดออกมาให้คนอื่นรู้ นั่นแหละ คือการเขียนเป็น ถ้านักเรียนเขียนอย่างนั้นได้ ถือว่าประสบความสำเร็จในการเรียนภาษาไทยอยู่ในระดับสูงสุดของการเรียนในระดับชั้นนั้น (จากหนังสือ อ.สำลี รักสุทธี, สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้) แบบฝึกภาษาไทย เล่ม ๑ > คลิก
แบบฝึกภาษาไทย เล่ม ๒ > คลิก แบบฝึกภาษาไทย เล่ม ๓ > คลิก แบบฝึกหัดสระ > คลิก แบบฝึกหัดเรียนรู้วรรณยุกต์ > คลิก มาตราตัวสะกด > คลิก | สถาบันภาษาไทย สวก. > คลิก เครื่องมือประเมินอ่าน-เขียน
ของสำนักวิชาการและมาตรฐาน สพฐ.
คู่มือแบบทดสอบการอ่านออกเขียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 ปีการศึกษา 2559 > คลิก แบบฝึกทักษะการอ่านคล่อง เขียนคล่อง ของ True ปลูกปัญญา
ข้อมูลรายงานผลประเมิน
การอ่านออกเขียนได้(ป.1-3)
และอ่านคล่องเขียนคล่อง(ป.4-6)
ตามนโยบายฯ ปีการศึกษา 2559
สื่อการสอนภาษาไทย
@ บัญชีคำใหม่
@ โลกวรรณคดีดอทคอม >>> คลิก @ เว็บสำหรับนักเขียน >>> คลิก @ ศูนย์สารสนเทศเสียงไทย > คลิก @ ลิลิตพระลอ >>> คลิก
เว็บลิงก์ที่น่าสนใจ
![]() ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสอนภาษาไทย
เรื่องสั้น.สำนวนไทย เล่ม 1-3
เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องสั้นที่ชนะการประกวดของสถาบันภาษาไทย
|