โรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน)



        เมื่อปีการศึกษา 2559 สพฐ. ได้จัดทำโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน (แม่เหล็ก) ซึ่งต่อมาได้บูรณาการโครงการโรงเรียนประชารัฐ และโรงเรียนดีใกล้บ้านตามระบบ GIS เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการโรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) หลักการสำคัญเพื่อ
    1) พัฒนาสถานศึกษาที่มีคุณภาพสมบูรณ์แบบ
    2) ภาคเอกชน ภาครัฐและภาคประชาสังคมร่วมพัฒนา
    3) มีวัตถุประสงค์ให้บริการโรงเรียนลูกข่าย

        โครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) "สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ" ร่วมกับภาคประชาสังคม และภาคเอกชนกว่า 25 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดรับสมัครโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (ระดับประถมศึกษา-ขยายโอกาส นักเรียน 80-600 คน, ระดับมัธยมศึกษา นักเรียน 120-600 คน) เข้าร่วมพัฒนาตามโครงการ ซึ่งมีโรงเรียนสนใจสมัครกว่า 10,000 โรงเรียน และมีโรงเรียนผ่านการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 1 จำนวน 3,342 โรงเรียน ที่จะได้รับการพัฒนาตามโครงการภายใต้การดูแลและให้ความช่วยเหลือของ School Partners จากภาคเอกชน 1,000 คน และมี School Sponsor จากภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนต่อไปด้วย
        สิ่งที่จะได้รับจากการเป็นต้นแบบโรงเรียนประชารัฐ มีหลายประการ คือ 1) ครู ได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการจัดการ ตลอดจนได้รับการพัฒนา-การเรียนรู้ต่างๆ  2) โรงเรียน ได้รับการเติมเต็มจากภาคเอกชน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น 3) ผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาคุณสมบัติและสมรรถนะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ  4) ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น
        ต่อมาจึงได้มีโครงการ"โรงเรียนร่วมพัฒนา” เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ บริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยทุกฝ่ายได้เข้าใจตรงกันและมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา > คลิก 
        สพป.นครปฐม เขต 2 พิจารณาคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน (แม่เหล็ก) ระยะแรกปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ 
    1) โรงเรียนตลาดรางกระทุ่ม อำเภอบางเลน มีโรงเรียนบ้านรางกระทุ่ม เป็นโรงเรียนในเครือข่าย จัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมทุกชั้น
    2) โรงเรียนวัดจินดาราม อำเภอสามพราน มีโรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ เป็นโรงเรียนในเครือข่าย จัดการเรียนการสอนแบบช่วงชั้น โดยนำนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปเรียนรวม

รายชื่อโรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ที่ โรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) โรงเรียนเครือข่าย หมายเหตุ
1  วัดบางพระ    ประชารัฐ
2  วัดพุทธธรรมรังษี  บ้านห้วยพลู  ประชารัฐ
3  วัดบางหลวง  วัดราษฎร์สามัคคี  ประชารัฐ / แม่ประถม
4  วัดศิลามูล    ประชารัฐ
5  วัดบางภาษี  ประชารัฐ
6  ตลาดรางกระทุ่ม  บ้านรางกระทุ่ม  แม่ประถม
7  วัดพระมอพิสัย  บ้านคลองพระมอพิสัย
 บ้านคลองนกกระทุง
 แม่ประถม
8  วัดบัวหวั่น  บ้านหนองปรงกาญจนา  ประชารัฐ
9  วัดนิลเพชร  วัดบอนใหญ่  ประชารัฐ
10  วัดปรีดาราม  บ้านคลองจินดา
 บ้านฉาง
 แม่ประถม
11  วัดจินดาราม  หลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์  แม่ประถม
12  บ้านบางประแดง    ประชารัฐ
13  วัดเชิงเลน(นครใจราษฎร์)  บ้านบางม่วง  ประชารัฐ / แม่ประถม
14  บ้านคลองโยง    ประชารัฐ

รายชื่อโรงเรียนดีใกล้บ้านมาตรฐานประชารัฐ(ประถมศึกษา) สพป.นครปฐม เขต 2  คลิก

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/pracha-rath/7%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90.jpg?attredirects=0

โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) สพป.นครปฐม เขต 2

วันที่ 2 กันยายน 2560

การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
โรงเรียนประชารัฐ

ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดบางพระ
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
สพป.นครปฐม เขต 2

อัลบัมภาพ > คลิก


วันที่ 3 สิงหาคม 2560

การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
การบริหารจัดการโครงการ
โรงเรียนประชารัฐ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครปฐม เขต 2

ณ ห้องประชุมโรงเรียนวัดบางพระ
อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

วัตถุประสงค์ :  เพื่อทบทวนและขับเคลื่อนการดำเนินการโครงการโรงเรียนประชารัฐสู่คุณภาพที่ยั่งยืน เพื่อชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการกับโรงเรียนที่เข้าร่วมใหม่ จำนวน 5 โรงเรียน  

กลุ่มเป้าหมาย : ครู ผู้บริหาร โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) จำนวน 15 โรงเรียน ๆ ละ 3 คน รวม 45 คน 

หลักสูตร เนื้อหา สาระ :  การขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน) (ดร.ธีรพงษ์ ศรีโพธิ์, นางรัชนี เมตตา) / การบริหารบัญชีกองทุนโรงเรียนประชารัฐ (นางสาวสุมาลี ภูริเอกสุวรรณ) / การบูรณาการสื่อ-นวัตกรรม Online สู่ห้องเรียนโรงเรียนประชารัฐ (นายอนนท์ ศรีพิพัฒน์, นายศุภวุฒิ บัวเจริญ, นายชาญณรงค์ มงคลศิวกุล) / การถ่ายทอดสัญญาณทรูปลูกปัญญา (นางสาววันวิสา จำปาแพง)  / การติดตามผลการดำเนินงาน (นายสุภัค แฝงเพ็ชร, นางสาวอรวรรณ ริ้วไสว, นางสาวสายใจ ฉิมมณี)  

กิจกรรม : การบรรยาย  สาธิตการถ่ายทอดสดออกอากาศผ่านระบบทรูปลูกปัญญา อภิปรายปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา 


https://plus.google.com/photos/109792760885146779362/albums/6304784564445117313?sort=1
การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ
ด้านระบบสารสนเทศโรงเรียนประชารัฐสพป.นครปฐม เขต 2

วันที่ 7 ก.ค. 2559
 
ณ ห้องประชุม ICT สพป.นครปฐม เขต 2  

    นายชูฌาณ พีรชัยเดโช รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เป็นประธาน ในการจัดประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 10 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดบางพระ วัดพุทธธรรมรังษี วัดบางภาษี วัดบัวหวั่น วัดนิลเพชร วัดศิลามูล วัดบางหลวง บ้านบางประแดง วัดเชิงเลน บ้านคลองโยงเข้าร่วมประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการระบบสนันสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา(SMSS) ซึ่งระบบงานย่อยภายในเกี่ยวกับ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล การบริหารทั่วไป ซึ่งโรงเรียนสามารถนำไปใช้บริหารจัดการภายในได้อย่างครบถ้วน โดยมีวิทยากรจากโรงเรียนวัดหอมเกร็ด อ.สามพราน (นายหนึ่ง ภุมมาลา) มาให้ความรู้ในการปฏิบัติการในครั้งนี้ และทางศูนย์ ITEC จะได้ขยายผลให้กับโรงเรียนในสังกัดทั้งหมดในโอกาสต่อไป ชมอัลบั้มภาพ > คลิก

    โปรแกรมระบบสนับสนุนการบริหารจัดการของสถานศึกษา smss (School Management Support System : SMSS) จุดเด่นของโปรแกรมคือเป็นโปรแกรมที่เปิดให้ใช้ฟรี ทีมงานพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ติดตั้งเองได้ ใช้ง่าย สามารถใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ มีเมนูเช็คนักเรียนเข้าเรียนรายคาบ สนับสนุนครอบคลุมการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน 



บทความ / ข่าว

 “โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา” เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาภายใต้บทบาทความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ และ บริษัท มูลนิธิ องค์กร หรือสถาบันที่สนับสนุนทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการบริหารให้กับสถานศึกษา ซึ่งเป็นส่วนขยายของโรงเรียนประชารัฐ โดยทุกฝ่ายได้เข้าใจตรงกันและมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา > คลิก 
 (คลิป) การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูวิทยากร โรงเรียนคุณธรรม ในโครงการโรงเรียนประชารัฐ > คลิก
 ประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2 เรื่อง การคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนประชารัฐ 2559 > คลิก
 พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงสานพลังประชารัฐ "ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ"  > คลิก
 E5 การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ความคืบหน้าการดำเนินงาน ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2559 > คลิก
 บทบาทของผู้รับผิดชอบระดับเขตตรวจราชการในโครงการ “โรงเรียนประชารัฐ” > คลิก
 บทความ : การศึกษาประชารัฐ FOCUS ที่พัฒนาครู (สมหมาย ปาริจฉัตต์) คลิก
 ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี103/2559 MoU สานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ > คลิก
 รัฐเดินหน้าพัฒนาการศึกษา ยึด 4H ทำโรงเรียนประชารัฐ > คลิก
 ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 188/2559 ประชุมชี้แจงโครงการโรงเรียนประชารัฐ > คลิก
 ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” คือ อะไร > คลิก
 ประชารัฐ Modelใหม่ ในการจัดการศึกษา > คลิก


แนวคิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
เพื่อการจัดการศึกษา
โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ
ด้าน Digital Technology
ในโรงเรียนประชารัฐ

เป้าหมาย : เพิ่มประสิทธิภาพด้าน Digital Technology 

กลไกการขับเคลื่อน :   
พัฒนาระบบสารสนเทศที่สอดรับกับระบบหลัก (Digital Infrastructure) > ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา SMSS โดยพัฒนา Web Site ของโรงเรียน และต่อยอดให้สัมพันธ์กับระบบ SMSS 
พัฒนาครู > เพิ่มศักยภาพด้าน ICT และทักษะการสื่อสาร 
พัฒนาหลักสูตรการอบรมครูด้าน ICT > ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Computing and ICT Literacy)

สิ่งที่ควรเพิ่มเติมควบคู่กัน : 
พัฒนาหลักสูตรการอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย การเรียนรู้ 3R x 8C ตลอดชีวิต 
    3R คือ Reading-อ่านออก, (W)Riting-เขียนได้, (A)Rithenmatics-คิดเลขเป็น
    8C คือ 
- Critical Thinking and Problem Solving : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ แก้ไขปัญหาได้
- Creativity and Innovation : คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
- Cross-cultural Understanding : ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
- Collaboration teamwork and leadership : ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
- Communications information and media literacy : ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
- Computing and ICT literacy : ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี
- Career and learning skills : ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
- Compassion : มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
พัฒนาหลักสูตรการอบรม การใช้ 4 H ในโรงเรียน สู่การวิจัยรูปแบบ(แบบจำลอง) ของหน่วยงาน
บูรณาการจัดการเรียนรู้ STEM ศึกษา สู่การพัฒนานวัตกรรมผู้นำเยาวชนรุ่นใหม่ และการฝึกทักษะทางอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)



 คู่มือการใช้งานสื่อมัลติมีเดียและชุดอุปกรณ์ ICT สำหรับโรงเรียนประชารัฐ ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
    1. การใช้สื่อมัลติมีเดียและชุดอุปกรณ์ ICT โรงเรียนประชารัฐ ดาวน์โหลด
    2. TV Techonology ดาวน์โหลด
    3. คู่มือการติดตั้ง SMATV ดาวน์โหลด
    4. คู่มือแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ ดาวน์โหลด
    5. คู่มือ Flash Firmware แก้ปัญหาเสียง ดาวน์โหลด
    6. โปรแกรม Firmware สำหรับแก้ปัญหาเสียง ดาวน์โหลด
    7. การแก้ไขปัญหา Network ดาวน์โหลด

 วิดีโอสาธิตการใช้งานอุปกรณ์และสื่อ ICT เพื่อการศึกษา มีรายละเอียดการแนะนำชุดอุปกรณ์ การติดตั้งและการใช้งานต่าง ๆ ดังนี้
    1. แนะนำอุปกรณ์ภายในตู้แดง > คลิก
    2. การใช้งาน LED TV 43" คลิก
    3. ชุดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง คลิก
    4. แนะนำลำดับการเปิด ปิด คอมพิวเตอร์เซิปเวอร์ คลิก
    5. วิธีออกอากาศผ่าน คอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ คลิก
    6. การใช้งานโปรแกรมบันทึก Honestech TVR2 5 คลิก
    7. การใช้งานกล้องวีดีโอสำหรับถ่ายทอดสด คลิก
    8. การตั้งค่าเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟนสำหรับการถ่ายทอดสด คลิก
    9. การเลือกค่า AV Selector สำหรับการถ่ายทอดสด คลิก
  10. การรับชมสัญญาณถ่ายทอดสดจากห้องเรียน คลิก
  11. การใช้งานทีวีเบื้องต้น คลิก
  12. การเลือกสัญญาณเข้าช่องทีวี คลิก
  13. การใช้งานโหมด SMATV คลิก
  14. การใช้งานโหมด HDMI คลิก

 เครื่องมือและโปรแกรมน่าใช้งาน จากเว็บไซต์ Google > คลิก
 ไลฟ์สดยังไงให้ภาพวิดีโอออกมาชัดแจ๋วแบบ HD (ใช้กล้องDslr) ตอนที่ 1 |  ตอนที่2  |  ตอนที่ 3
 เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจทัลประเภท Live video > คลิก
 10 good apps to enhance kids criticalthinking คลิก
 การทำ AR แนะนำสถานที่ > คลิก
 วิธีจัด Facebook Live ผ่าน Web Browser บนคอมพิวเตอร์ > คลิก 
 จัด Facebook Live ผ่านคอมพิวเตอร์ที่ง่ายยิ่งกว่าเดิม > คลิก 




 ประกาศระเบียบกองทุนโรงเรียนประชารัฐ 2559 > คลิก
 กรอบนโยบายโครงการโรงเรียนประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ คลิก
 แบบเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ > คลิก 


https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/pracha-rath/14956478_567535460102735_5465514002061111794_n.jpg?attredirects=0

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/pracha-rath/14908200_567535463436068_3924880389068804804_n.jpg?attredirects=0

https://drive.google.com/a/hi-supervisory5.net/file/d/0BxmL2I2DzZ01YWRmRmlUT0s4YXc/view?pref=2&pli=1

http://www.pracharathschool.go.th/

https://www.facebook.com/pracharathschoolproject/
FB: โครงการโรงเรียนประชารัฐ

https://drive.google.com/file/d/0B8x810aAcXcjbkdmMXR6aGkxX1U/view

https://drive.google.com/file/d/0BzImB1Ek_cwIckNxR0ZIalN4RTQ/view?usp=sharing
ดร.พิธาน พื้นทอง (1 ก.ย. 59)

https://drive.google.com/a/hi-supervisory5.net/folderview?id=0B7t9clCHujBsdzlTOFJjVEJqQlk&usp=sharing#



โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน)
โรงเรียนวัดจินดาราม นครปฐม

โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน)
โรงเรียนตลาดรางกระทุ่ม นครปฐม

โรงเรียนประชารัฐ(ดีใกล้บ้าน)
โรงเรียนวัดบางหลวง นครปฐม

ประชุมทางไกลเพื่อชี้แจง
การสำรวจความต้องการจำเป็น
สำหรับการจัดการศึกษาของโรงเรียนประชารัฐ (ดีใกล้บ้าน) 3 มี.ค. 2561

การประชุมทางไกลโรงเรียนประชารัฐ
(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)
โดย ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร
25 พฤษภาคม 2560

การประชุมทางไกล
โครงการโรงเรียนดีใกล้บ้าน(แม่เหล็ก)
13 พฤศจิกายน 2560

การประชุมชี้แจงการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ
โดย เลขานุการ รมว.ศธ.
 วันที่ 17 ส.ค. 59


Comments