วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ


        รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้นในปี 2503 เพื่อเป็นเครื่องมือ สำคัญในการปกป้องทรัพยากรสัตว์ป่าของประเทศ จนถึงปี 2535 ก็ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมโดยได้ เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะสัตว์ป่าบางประเภท ได้ เพราะการเพาะเลี้ยงเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่ อยู่ต่อไป อย่างไรก็ตามสัตว์ป่าก็ยังถูกไล่ล่าและลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ดังนั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า เพียงเจ้าหน้าที่อย่างเดียวไม่พอต้องอาศัยความร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ในสังคม ทั้งภาครัฐ และเอกชนรวมถึง ประชาชนและเยาวชนของชาติ ด้วยพระหากรุณาธิคุณสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงห่วงใยต่อ ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าทรงมีพระราชดำริแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เสมอมา

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/satw-pa/26-%E0%B8%98.%E0%B8%84.-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.jpg

ประวัติความเป็นมาวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ

        วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกปี ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในรัฐบาลของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี พ.ศ. 2503 เนื่องจากในช่วงนั้นสัตว์ป่าถูกล่าเป็นจำนวนมากจนลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว และกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสัตว์ป่าในขณะนั้น มีเพียงพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า ร.ศ. 1199 (พ.ศ. 2443) เท่านั้น ยังไม่มีการคุ้มครองสัตว์ป่าอื่น ๆ รัฐบาลในสมัยที่มี จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้ตรากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503

        ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ใหม่ เนื่องจากมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถทำให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าและให้การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าควบคู่กันไปประกอบกับได้มีการตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่น หรืออนุสัญญาไซเตส (CITES) จึงมีการปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ 
        สำหรับการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีความห่วงใยต่อทรัพยากรป่าไม้ พระองค์ทรงให้คำแนะนำและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์เสมอมา โดยได้เปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางประเภทได้ เนื่องจากการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าอาจเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้สัตว์ป่าคงอยู่คู่กับโลกต่อไป

กิจกรรมวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ


        การจัดงานในวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ 26 ธันวาคม ของทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเกิดจิตสำนึกรักและหวงแหน ช่วยกันปกป้องทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่าให้คงอยู่ตลอดไป รวมทั้งตระหนักถึงความสูญเสียสัตว์ป่าที่ถูกล่า โดยงาน วันสัตว์ป่าแห่งชาติ จะถูกจัดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ
    - การจัดนิทรรศการ บรรยาย จัดทำเอกสาร แผ่นพับ แผ่นภาพ
    - ประกวดคำขวัญ ประกวดภาพถ่าย
    - จัดประชุม สัมมนา
    - ส่วนกลาง ดำเนินการโดยสำนักสารนิเทศ ร่วมกับสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
    - ส่วนภูมิภาค ดำเนินการโดยสำนักงานป่าไม้ทุกเขต

บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง
    กฎกระทรวง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 > คลิก

        ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Comments