วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2564
"รักเอยรักแม่ ลูกทดแทนรักแท้ที่แม่ให้ เร่งพากเพียรทำดีด้วยหัวใจ ประกาศคุณแม่ไว้ในแผ่นดิน”
บทเพลง "สดุดีพระแม่ไทย"
โลกสดุดีพระปรีชาชาญ ราษฎร์สุขสราญเพราะพระบารมี
สิริกิติ์เกริกฟ้าสุดแดนแผ่นดินนี้ พระพันปีหลวงมิ่งขวัญไทย
ใต้ฝ่าละอองฯ ผองไทยบูชา ใต้ร่มบุญญาพร้อมเพรียงภูมิใจ
จุดเทียนแซ่ซ้องส่องเมืองสว่างไสว ไทยเทิดไท้ถวายพระพร
ศูนย์รวมใจปวงประชา ศิลปาชีพอมร พสกนิกรภักดี
พระเมตตาเติมใจ คุ้มครองไทยสุขศรี
สดุดีพระแม่ไทย ทรงพระเจริญ
คำร้อง : ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร
ทำนอง : วิรัช อยู่ถาวร
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
![]() ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ![]() ![]() ปี พ.ศ.2564 : "รักเอยรักแม่ ลูกทดแทนรักแท้ที่แม่ให้ เร่งพากเพียรทำดีด้วยหัวใจ ประกาศคุณแม่ไว้ในแผ่นดิน” ปี พ.ศ.2563 : "รักเอยรักลูกแม่จึงปลูกคุณธรรมให้รักษา รดความรักพรวนความดีมีเมตตา ลูกเติบใหญ่แทนคุณค่าของแผ่นดิน" ปี พ.ศ.2562 : “เพราะรักลูกมากกว่าใครในโลกหล้า เพราะพระคุณเลิศล้ำฟ้าจะหาไหน เพราะสอนให้ประพฤติดีทั้งกายใจ ลูกจึงรักแม่กว่าใครทดแทนคุณ” ปี พ.ศ.2561 : เมื่อเรารวมกำลังกันทั้งชาติ ย่อมสามารถช่วยไทยไขปัญหา ผนึกแรงหลอมรวมร่วมปัญญา จักนำพาชาติตนรอดพ้นภัย ปี พ.ศ.2560 : "สอนให้ลูก เรียนรู้ สู้ปัญหา พัฒนา ด้วยตน จนเติบใหญ่ เพราะคนแกร่ง จะก้าว ได้ยาวไกล เพื่อมาเป็น กำลังไทย ให้แข็งแรง" ปี พ.ศ.2559 : "สอนให้ลูกทั้งหลายเดินสายกลาง ทำทุกอย่างพอดีมีเหตุผล ประกอบด้วยคุณธรรมนำทางตน ย่อมได้คนดีพอต่อบ้านเมือง" ปี พ.ศ.2558 : "ดินและน้ำ ลมและฟ้า ป่าและเขา รวมกันเข้าคือทรัพย์สินแผ่นดินแม่ ฝากลูกไทยรวมใจภักดิ์รักดูแล เพื่อมอบแก่หลานเหลนไทยไปชั่วกาล" ปี พ.ศ.2557 : " รักเรียน รู้งาน ถนอมบ้านเมืองไทย ร่วมใจสามัคคี คือลูกที่ดีของแม่ " ปี พ.ศ.2556 : "คำโบราณว่าดูนางดูอย่างแม่ คือคำแปลว่าแม่ดีมีลูกเด่น จะชายหญิงรู้ชั่วดีมีกฎเกณฑ์ เพราะจัดเจนแบบอย่างในทางดี" ปี พ.ศ.2555 : "มือของแม่นั้น คือ มือช่างปั้น ขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลาอยากให้เป็นงานดีที่งามเงาอยู่ที่คอยขัดเกลาแต่เบามือ" ปี พ.ศ.2554 : "เพลงชาติไทยเตือนไทยไว้เช้าค่ำ ให้จดจำจารึกใจไว้ทุกส่วน จะดำรงคงไทยได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี" ปี พ.ศ.2553 : "แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์" ปี พ.ศ.2552 : "แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่ ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม" ปี พ.ศ.2551 : "เมื่อเกิดมาอาศัยถิ่นแผ่นดินไหน ควรมีใจกตัญญูรู้คุณถิ่น หากคนไทยรู้ตอบแทนคุณแผ่นดิน จักไม่มีวันสิ้นแผ่นดินไทย" ปี พ.ศ.2550 : "ข้าวในนาปลาในน้ำคำโบราณ คือตำนานความอุดมสมบูรณ์สิน ฝากลูกไทยร่วมห่วงแหนรักแผ่นดิน ถนอมไว้อย่าให้สิ้นแผ่นดินไทย" ปี พ.ศ.2549 : "รักในหลวงพร้อมใจใส่เสื้อเหลือง รักบ้านเมืองจงน้อมใจให้สร้างสรรค์ ใส่สีเดียวแล้วใจเดียวกลมเกลียวกัน รักเช่นนั้นชาติของตนจึงพ้นภัย" ปี พ.ศ.2548 : "ดุจดังแม่ผู้ประเสริฐบังเกิดเกล้า เลี้ยงเราทุกคนมาจนใหญ่ ทุกคำข้าวคือสินแผ่นดินไทย ควรตรองใจทดแทนคุณแผ่นดิน" ปี พ.ศ.2547 : "แม่คือผู้ให้ ให้โดยไม่หวังผลตอบแทนใดใด นอกจากความรักความเข้าใจจากลูก" (สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี) ปี พ.ศ.2546 : "สามร้อยหกสิบห้าวันคือวันแม่ มิใช่แค่วันใดให้นึกถึงสม่ำเสมอสมัครจิตคิดคำนึง เหมือนแม่ซึ่งรักลูกครบทุกวัน" ปี พ.ศ.2545 : "แม่คือพระประจำอยู่ในบ้าน บูชาท่านไว้เถิดเกิดมิ่งขวัญ พระคุณแม่เลิศล้ำเกินรำพัน แม่จึงเป็นคนสำคัญทุกวันไป" ปี พ.ศ.2544 : "พระองค์แรกผู้แสนดีให้ชีวิต ครูคนแรกผู้ประสิทธิ์การศึกษา สองหัตถ์โอบนคราพาร่มเย็น รวมคุณค่านี้ได้แก่แม่เราเอง" | กิจกรรมวันแม่ สพป.นครปฐม เขต 2 ![]() ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันแม่ ดอกไม้ดอกเล็กๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง "ดอกมะลิ" ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ "วันแม่" เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวันเสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูกๆ ทุกคน อย่างไรก็ตาม ดอกมะลิ ไม่ได้มีดีแค่ความหอม หรือนำไปร้อยมาลัยแต่ยังเป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์อีกมากมาย รวมทั้งแฝงไว้ด้วยสรรพคุณทางยาในการช่วยบำบัดและรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีเยี่ยมโดยที่เราคาดไม่ถึง ประเทศไทยเริ่มจัดงานวันแม่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน ต่อมามีการเปลี่ยนกำหนดงานวันแม่หลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนโดยให้ถือว่า วันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระบรมราชนนีพันปีหลวง) วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่อง จาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี ดังนั้น ใกล้จะถึงวันแม่ “ดอกมะลิ” จะยิ่งมีความหมายมากขึ้น เพราะเป็นดอกไม้ที่หลายๆ คนจะนำไปไหว้แม่ หรือเป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่นั้นเอง พระคุณแม่ นมทุกหยดของแม่มีความหมาย แม่อุตส่าห์เลี้ยงดูทุ่มเทกาย ส่งเสียให้ได้เรียนเพียรศึกษา แม่เป็นหญิงที่ดีในใจลูก แม่พันผูกปลูกฝังให้รักษา ยามเจ็บทุกข์ได้ยากคอยป้อนยา คอยสรรหาสิ่งดีดีให้ตัวเรา ถึงเวลาที่ควรตอบแทนท่าน เราต้องหมั่นเอาใจท่านให้หนักหนา คำ คำนี้ลูกจำได้ตั้งแต่เกิดมา สุดท้ายหนาคือคำว่า “แม่จ๋า” เอย |