วันปิยมหาราช


“พระปิยมหาราช” รัชกาลที่ ๕ King RAMA V

                        ๏ สยามินทร์ปิ่นธเรศเจ้า   
                นึกพระนามความหอม 
                อวลอบกระหลบออม 
                เพราะพระองค์ทรงอุ้ม จุลจอม จักรเอย 
                ห่อหุ้ม ใจอิ่ม โอบเอื้อเหลือหลาย ๚

จากลิลิต “สามกรุง” ของ น.ม.ส.




ภาพกิจกรรมการร่วมพิธีถวายพวงมาลา ประจำปี 2561 > คลิก

พระปิยมหาราช

พระราชสมภพ            ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖
เสด็จขึ้นครองราชย์      ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๑
บรมราชาภิเษก           ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑
สวรรคต                    ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ (๕๗ พรรษา)
ระยะทรงครองราชย์     พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓ (๔๒ ปี)

        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ เมื่อพระชนม์ได้ ๙ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ ต่อมาอีก ๔ ปี ได้เลื่อนเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ 

        พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมพรรษาได้เพียง ๑๖ พรรษา ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และทรงสถาปนากรมหมื่นบวรไชยชาญ ซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ของพระมหาสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งปรากฎพระนามในภายหลังว่า กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ขณะที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการนี้ เป็นโอกาสให้พระองค์ได้เล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก นอกจากอักขระสมัย เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสนศาสตร์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม 

        ยิ่งกว่านั้น ยังได้เสด็จประพาสต่างประเทศ เพื่อทอดพระเนตร
แบบแผนการปกครอง ทรงปฏิรูปการแต่งกายของชาวไทย ทรงให้เลิกตัดทรงผม มหาดไทย เลิกการหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้า ทรงเลิกการตอกเล็บ บีบขมับ เกี่ยวกับการพิจราณาคดีทางโรงศาล และประการสำคัญอย่างยิ่งคือ ‘ทรงเลิกทาส’ ได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๑๖ และลาผนวช เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ แล้วบรมราชาภิเษก ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงรับผิดชอบในการปกครองบ้านเมืองตั้งแต่นั้นมา และเสด็จสวรรคตเมื่อ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓

        พระองค์ท่านได้บำเพ็ญกรณียกิจ อันเป็นประโยชน์แก่ชาวไทยและประเทศชาตินานับประการ ประชาชนพลเมืองรักใคร่พระองค์มาก จึงได้ขนานนามว่า พระปิยมหาราช

 หนังสืออ้างอิง
-- รอบรู้ประเทศไทย โดย วารี อัมไพวรรณ สน.พิมพ์ ภัทรินทร์
-- ประวัติยอดกวีสี่แผ่นดิน โดย ศรณรงณ์ ปิยะกาญจน์ สน.พิมพ์รวมสาส์น



ผลงานพระราชนิพนธ์

ประเภทร้อยแก้ว : 
พระราชพิธีสิบสองเดือน | ไกลบ้าน | พระราชวิจารณ์ 
ประเภทกวีนิพนธ์ (ร้อยกรอง) : ลิลิตนิทราชาคริต | บทละครเรื่องเงาะป่า | โคลงสุภาษิต | สุภาษิตนฤทุมนาการ | นิราศพระแท่นดงรัง | กาพย์เห่เรือ และเห่ชมนก เห่ชมนาง


โคลงสุภาษิต บทพระราชนิพนธ์ ของพระองค์
        ๏ ฝูงชนกำเนิดคล้าย 
    ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ 
    ความรู้อาจเรียนทัน 
    ยกแต่ชั่วดีกระด้าง
คลึงกัน 
แผกบ้าง 
กันหมด 
อ่อนแก้ฤๅไหว ๚


         มีเพียรประดุจได้
    มากประมาณโกฏินับ
    เป็นพื้นภาคภูมิรับ  
    ความสุขสมบัติล้วน 
ขุมทรัพย์
ไป่ถ้วน
การร่ำ เรียนนา
เสร็จได้โดยเพียร
              
    ความรู้ คู่เปรียบด้วย กำลัง กายเฮย      สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พ้อง ปัญญา ประดุจดัง อาวุธ            คุมสติ ต่างโล่ป้อง อาจแกล้ว กลางสนาม




Comments