![]() ประเพณีสงกรานต์ไม่ได้มีเพียงในประเทศ ไทย เท่านั้น ในประเทศเพื่อนบ้านเราก็มี เช่นกัน ลาว กัมพูชา พม่า อินเดีย เป็นต้น ตำนานประเพณีสงกรานต์ เรื่องเล่าว่า มีเศรษฐีครอบครัวหนึ่งไร้ทายาทสืบสกุล วันหนึ่งได้ไปที่ริมแม่น้ำแห่งหนึ่งได้พบต้นไทรใหญ่ จึงคิดขึ้นว่า "เห็นทีไทรต้นนี้จะมีรุกขเทวาอาศัยอยู่เป็นแน่" จึงอธิษฐานให้เทวดาช่วยให้ตนมีลูก ด้วยความสงสาร รุกขเทวาจึงขึ้นไปเข้าเฝ้าพระอินทร์และกราบทูลขอให้ประทานบุตรให้แก่เศรษฐีพระอินทร์จึงให้เทพบุตรตนหนึ่ง นามว่า "ธรรมบาล" ลงไปจุติในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี ครั้นครบกำหนดคลอดก็ได้บุตรชายหน้าตาน่ารัก นามว่า "ธรรมบาลกุมาร" เป็นผู้มีปัญญามากสามารถฟังภาษาสัตว์ได้ จึงมีชื่อเสียงเรื่องลือไปสู่ชาวเมืองอย่างรวดเร็ว ทำให้ท้าวกบิลพรหมเกิดความอิจฉา จึงได้ลงมาหาธรรมบาลกุมารเพื่อถามปัญหา 3 ข้อ คือ 1. ตอนเช้าศรีคนอยู่แห่งใด 2. ตอนเที่ยงศรีของคนอยู่แห่งใด 3. ตอนค่ำศรีของคนอยู่แห่งใด หากธรรมบาลกุมารตอบได้ท้าวกบิลพรหมจะตัดศรีษะเพื่อบูชา แต่ถ้าธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้จะต้องตัดหัวตนเองเพื่อเเสดงความพ่ายแพ้ เมื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัด วันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงได้เข้าป่าไปนอนพักใต้ต้นไม่ใหญ่ มีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า "พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน" นกสามีก็ตอบว่า "พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้" นางนกถามว่า "ปัญหานั้นว่าอย่างไร" นกสามีตอบว่า ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ คือ 1. ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า 2. ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก 3. ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง 7 ของตนอันเป็นบริจาริกา คือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ นางทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ เพื่อนำไปเก็บไว้ในเขาไกรลาศ ครบกำหนด 1 ปี ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกเวียนประทักษิณรอบเขาไกรลาศทุกปี วันสงกรานต์ของประเทศไทยในแต่ละภาคจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ สงกรานต์ภาคกลาง 13 เมษายน จะเรียกว่า “วันมหาสงกรานต์” และถือเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติอีกด้วย 14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเนา” และถือเป็นวันครอบครัว 15 เมษายน จะเรียกว่า “วันเถลิงศก” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่ สงกรานต์ภาคเหนือ 13 เมษายน จะเรียกว่า “วันสงขารล่อง” ความหมายว่า อายุสิ้นปีหมดไปอีกปี 14 เมษายน จะเรียกว่า “วันเน่า” วันที่ห้ามพูดคำหยาบคาย 15 เมษายน จะเรียกว่า “วันพญาวัน” ถือว่าเป็นวันเริ่มจุลศักราชใหม่ สงกรานต์ภาคใต้ 13 เมษายน จะเรียกว่า “เจ้าเมืองเก่า” เชื่อกันว่าวันที่เทวดารักษาบ้านเมืองจะกลับบนสวรรค์ 14 เมษายน จะเรียกว่า “วันว่าง” วันที่ปราศจากเทวดารักษาเมือง 15 เมษายน จะเรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” วันรับเทวดาองค์ใหม่เพื่อดูแลบ้านเมืองแทนองค์เดิม ![]() ![]() ประวัติวันครอบครัว เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว ลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม ความสำคัญของวันครอบครัว ครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้ | กิจกรรมสืบสานวันสงกรานต์ สพป.นครปฐม เขต 2 ![]() อีกชื่อหนึ่งของวันสงกรานต์ เรียกว่า "ตรุษสงกรานต์" ตรุษ แปลว่า "สิ้นปี" ดังนั้น สงกรานต์ จึงเป็นประเพณีของการแสดงความเคารพแก่ผู้ใหญ่ ความสำคัญของประเพณีสงกรานต์มีด้วยกัน 2 เรื่อง คือ 1. การลดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ (ดำหัว แปลว่า "รดน้ำ" เช่นกัน) 2. เป็นวันที่ครอบครัวและหมู่ญาติได้พบเจอกัน ![]() พิธีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติ มาแต่โบราณช่วงวัน สงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อส่วนนั้นไปและ ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจาก บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ได้แก่ การร่วมกันทำบุญให้ทาน การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็น การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน ![]() นอกจากนี้ ยังสร้างความรู้สึกผูกพันกลมเกลียวต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน และสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคม และสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ตลอดจนอาคารสถานที่สถานที่ต่าง ๆ ![]() นางสงกรานต์ นางสงกรานต์ ในโบราณ มีการกำหนดไว้ถึง 7 นางด้วยกัน แต่ละนางก็จะมีความหมาย คำทำนายที่แตกต่างกันออกไป โดย 7 นางสงกานต์ประกอบไปด้วย (ขอบคุณข้อมูลจาก : myhora) |
เทศกาลและวันสำคัญ >