
การที่จะพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้นั้น แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ กล่าวคือ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกิจกรรมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญในท้องถิ่น ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เด็กต้องเรียนรู้ไปกับวันสำคัญ เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปฏิบัติจริง และเกิดความใฝ่รู้ มีความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีโครงการกิจกรรมวันลอยกระทงขึ้น เพื่อให้เด็กครูและชุมชนได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการสมบูรณ์ครบทั้ง 4 ด้าน
วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อให้เด็กและครูปฏิบัติกิจกรรมวันลอยกระทงได้
2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวันลอยกระทง
3. เพื่อให้เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
1. เพื่อให้เด็กและครูปฏิบัติกิจกรรมวันลอยกระทงได้
2. เพื่อปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อวันลอยกระทง
3. เพื่อให้เด็ก ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
![]() ความเชื่อเกี่ยวกับวันลอยกระทง เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงในแม่น้ำ
เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดียเป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้ คำอธิษฐานวันลอยกระทง อะหัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโท ปาทวลัญชัง อะภิปูชะยามิ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโท ปาทวลัฐชัง ปูชา มัยหัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ แปลว่า ..... ด้วยประทีปนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมบูชารอยพระพุทธบาทของพระศรีศากยมุนี อันประดิษฐานอยู่ ณ หาดทราย แห่งนัมมทานทีอันไกลโพ้น ขอให้การบูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และประโยชน์สุขแก่ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานเทอญ. ประวัติวันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่าง ๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมาก ๆ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ" ![]() ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย) จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย" จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา เพลงวันลอยกระทง วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ Loi Krathong November full moon shines, Loi Krathong, Loi Krathong, and the water's high in the river and local klong, Loi Loi Krathong, Loi Loi Krathong, Loi Krathong is here and everybody's full of cheer, We're together at the klong, Each one with this krathong, As we push away we pray, We can see a better day. Loy Krathong Day is one of the most popular festivals of Thailand celebrated annually on the Full-Moon Day of the Twelfth Lunar Month. It takes place at a time when the weather is fine as the rainy season is over and there is a high water level all over the country. "Loy" means "to float" and a "Krathong" is a lotus-shaped vessel made of banana leaves. The Krathong usually contains a candle, three joss-sticks, some flowers and coins. In fact, the festival is of Brahmin origin in which people offer thanks to the Goddess of the water. Thus, by moonlight, people light the candles and joss-sticks, make a wish and launch their Krathongs on canals, rivers or even small ponds. It is believed that the Krathongs carry away sins and bad luck, and the wishes that have been made for the new year due to start. Indeed, it is the time to be joyful and happy as the sufferings are floated away. The festival starts in the evening when there is a full moon in the sky. People of all walks of life carry their Krathongs to the nearby rivers. After lighting candles and joss-sticks and making a wish, they gently place the Krathongs on the water and let them drift away till they go out of sight. A Beauty Queen Contest is an important part of the festival and for this occasion it is called "The Noppamas Queen Contest". Noppamas is a legendary figure from the Sukhothai period. Old documents refer to her as the chief royal consort of a Sukhothai Kng named "Lithai". Noppamas was said to have made the first decorated Krathong to float in the river on the occasion. In Bangkok, major establishments such as leading hotels and amusement parks organise their Loy Krathong Festival and the Krathong contest as mojor annual function. For visitors to Thailand, the Loy Krathong Festival is an occasion not to be missed. the festival is listed in the tourist calendar. Everyone is invited to take part and share the joy and happiness. | เว็บเพจเกี่ยวกับวันลอยกระทง ลอยกระทงออนไลน์ การทำกระทง (เผยแพร่เพื่อสืบสานเป็นตำนาน แต่ไม่ต้องการให้นำลงแม่คงคา) 15 คลิป ทำกระทงหลากหลายสไตล์ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() การประดิษฐ์กระทง วิธีการทำกระทงใบตอง กระทงดอกไม้สด (เผยแพร่เพื่อสืบสานเป็นตำนาน แต่ไม่ต้องการให้นำลงแม่คงคา) แบบที่ 1 กลีบผกา วิธีทำ 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไปตามภาพ ซึ่งจะนับเป็น 1 ตับ 3. นำไปติดโดยรอบที่ขอบของฐานกระทง ซึ่งเป็นต้นกล้วยตัดเป็นแว่น ความหนา 1.5 - 2 นิ้ว โดยประมาณ ทั้งนี้ปริมาณของกลีบกระทงที่ใช้จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของตัว ฐาน 4. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ ![]() แบบที่ 2 กลีบกุหลาบ วิธีทำ 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 2. พับเป็นกลีบกุหลาบตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ ควรจัดให้ยอดของกลีบ และลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียว ซึ่งจะทำให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย 3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด 4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายกับมงกุฏสวมศีรษะ 5. จากนั้นประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ ![]() แบบที่ 3 หัวขวาน วิธีทำ 1. ตัดใบตองขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว ยาว 6 นิ้ว โดยประมาณ 2. พับตามรูป จำนวน 3 กลีบ จากนั้นนำมาสวมเีัรียงกันให้มีระยะห่างพองามตามความชอบ เพื่อให้ผลงานออกมาดูสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ควรพับแต่ละกลีบให้ได้ขนาดเท่ากันทุกจุด 3. ใช้ด้ายสีเขียวใกล้เคียงกับใบตอง หรือสีดำมาเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันโดยตลอด 4. พับกลีบใบตองแล้วเย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานกระทงได้โดยรอบ ตรึงกลับใบตองกับฐานของกระทงด้วยหมุด แล้วขลิบส่วนที่เลยพ้นฐานลงมาให้เรียบร้อยเสมอกับฐาน เมื่อทำเสร็จแล้วจะมีลักษณะคล้ายอ่างน้ำ 5. จากนั้น ประดับด้วยดอกไม้ตามความชอบ และปักธูปเทียนลงไป เป็นอันเสร็จ สามารถนำการพับใบตองรูปแบบนี้ไปใช้ร่วมกับการพับรูปแบบ อื่น ๆ ในผลงานชิ้นเดียวกันได้ตามความชอบ และความคิดดัดแปลง ส่วนตอนที่จะนำไปลอยนั้น บางคนอาจจะตัดเล็บ และผมใส่ลงไปด้วย ตามความเชื่อว่าเป็นการขจัดสิ่งร้ายๆ ให้ออกไปจากตัวเรา หรือจะใส่เหรียญลงไปด้วย เพื่อนำมาซึ่งความมั่งคั่งตามความเชื่อก็ได้ ส่วนของตัวกระทง ใช้หยวกกล้วย หรือวัตถุที่ย่อยสลายได้ตัดให้เป็นวงโดยสูงประมาณ1-2.5 นิ้ว ส่วนขนาดแล้วแต่ความพอใจ ขั้นตอนต่อมาคือการนำเอาใบตองมาพับเป็นรูปทรงต่างๆ เพื่อประดิษฐ์เป็นกระทง ![]() ในการลอยกระทงอันเป็นประเพณีโบราณ ที่ยังคงได้รับการสืบทอดมาแม้จนปัจจุบัน นับเป็นประเพณียอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ศิลปะการทำกระทง ยังแสดงถึงความเป็นช่างประดิษฐ์ของชาวไทยโบราณ ประกอบไปด้วยความประณีตในการนำวัสดุธรรมชาติมาเป็นกระทง การทำกระทงแบบไทยแท้ด้วยใบตอง ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ ![]() |