วันวิสาขบูชา

เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลโลก (ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19)

- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับวันวิสาขบูชาด้วยทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่อง VisaKha Bucha Day จัดทำโดย สพป.นครปฐม เขต 2  > คลิก 
Visakha Bucha Day เรียนรู้ภาษาอังกฤษกับวันสำคัญทางศาสนา โดยครูจอย โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ > คลิก 
- เวียนเทียนออนไลน์ > คลิก
- "เวียนเทียนออนไลน์" วิถีใหม่ ทุกศาสนาฝ่าวิกฤตยุค COVID ระบาด > คลิก
- ร่วมจุดประทีป เวียนเทียน Online IBS2564 > คลิก
- ร่วมกิจกรรมเยาวชนอาสาทั่วไทย รวมใจสร้างสรรค์ทำความดี(ออนไลน์) Youth R-SA Online Project > คลิก 
- ปลูกป่า ออนไลน์ forestapp.cc > คลิก 
โครงการและกิจกรรมปลูกต้นไม้และปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ > คลิก
- ร่วมกิจกรรมจิตอาสาออนไลน์ > คลิก
- ร่วมกิจกรรมอยู่บ้านสร้างบุญ ฟังธรรม ออนไลน์ > คลิก
- ทำบุญ สร้างกุศล ออนไลน์ 



'สมเด็จพระสังฆราช' ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา 2564

https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wisakha/575497.jpg

        ดิถีวิสาขบูชา อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นวันสำคัญสากลของโลก ได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ชวนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถราชกุมารเสด็จอุบัติขึ้นบนโลกนี้ ดังปรากฏเรื่องราวในพระไตรปิฎกว่า พระองค์ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศอุดร ทอดพระเนตรทิศทั้งหลาย ทรงพระดำเนินย่างพระบาทไปเจ็ดก้าว แล้วทรงเปล่งพระอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราคือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก” ดังนี้ อุปมาดั่งการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ให้ต่างตระหนักว่าเราทุกคนล้วนเป็นผู้กำหนดชีวิตของตนเอง สามารถพัฒนาตนให้ประเสริฐ ให้พ้นทุกข์ ให้มีชีวิตที่ดีงามสมบูรณ์ ถึงขั้นจะรู้แจ้งสัจธรรมเป็นพระพุทธเจ้าก็ยังได้ โดยหาใช่เพราะการดลบันดาลของพรหม เทพ หรือชะตาฟ้าดินแต่อย่างใด

        พุทธบริษัททั้งหลาย จึงพึงพิจารณาถึงย่างก้าวแห่งธรรมะ ๗ ประการ อันนำไปสู่การตรัสรู้ ซึ่งเรียกว่า “โพชฌงค์ ๗” ประกอบด้วย สติ ความระลึกได้, ธรรมวิจยะ การศึกษาสอดส่องธรรมะ, วิริยะ ความพากเพียร, ปีติ ความเอิบอิ่มใจโดยปราศจากอามิส, ปัสสัทธิ ความสงบกายใจ, สมาธิ ความมีจิตตั้งมั่น และ อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง

        อย่างไรก็ดี ก่อนจะย่างไปให้ครบทั้ง ๗ ก้าว สู่ความเป็นเลิศในโลกนั้น มนุษย์ผู้ปรารถนาอิสรภาพ จำเป็นต้องเริ่มต้นฝึกฝนตนเองให้มั่นคงในย่างก้าวสำคัญก้าวแรกแห่งการพัฒนา ได้แก่ “สติ” กล่าวคือ ให้รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหว ในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต และในความคิดทั้งหลายให้ได้ หากปราศจากสติเสียแล้ว องค์ธรรมแห่งความสำเร็จสูงสุดสำหรับมนุษยชาติประการอื่น ๆ ย่อมไม่อาจจะติดตามมาได้เลย

        ขอสาธุชนจงมุ่งมั่นหมั่นศึกษาอบรมเจริญสติ ให้รู้เท่าทันกาย วาจา และใจของตนเอง อันนับเป็น “ปฏิบัติบูชา” ที่พึงกระทำต่อพระรัตนตรัย เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นประทีปส่องใจเวไนยนิกรทั้งปวงสืบไปตลอดกาลนาน เทอญ




        วันวิสาขบูชา ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือราวเดือนพฤษภาคม แต่หากตรงกับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน วันวิสาขบูชาจะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน

        วิสาขบูชา ย่อมาจากคำว่า “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (คือเดือน 6) ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 3 ประการ ในวันวิสาขบูชา ดังนี้

    1. เป็นวันประสูติ นับเป็นวันที่รูปกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้อุบัติขึ้นบนผืนโลก ณ ลุมพินีสถาน เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี พระนางสิริมหามายา พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ประสูติพระโอรส ณ ใต้ต้นสาละนั้น ครั้นพระกุมารประสูติได้ 5 วัน ก็ได้รับการถวายพระนามว่า "สิทธัตถะ"

    2. เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ อนุตตรสัมโพธิญาณ ณ ร่มต้นอัสสัตถพฤกษ์ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พระมหาบุรุษได้ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณ

    3. เป็นวันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ณ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา

        “เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวงรู้ธรรมทั้งปวง อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาแล้ว ในธรรมทั้งปวงละธรรมเป็นไปในภูมิสามได้หมด พ้นแล้วเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา เราตรัสรู้ยิ่งเองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า อาจารย์ของเราไม่มี คนเช่นเราก็ไม่มี บุคคลเสมอเหมือนเราก็ไม่มี ในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นพระอรหันต์ในโลก เราเป็นศาสดา หาศาสดาอื่นยิ่งกว่ามิได้ เราผู้เดียวเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เราเป็นผู้เย็นใจ ดับกิเลสได้แล้ว เราจะไปเมืองในแคว้นกาสี เพื่อประกาศธรรมจักรให้เป็นไป เราจะตีกลองประกาศอมตธรรมในโลกอันมืด เพื่อให้สัตว์ได้ธรรมจักษุ”

        การอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ เปรียบเสมือนดวงสุริยาที่ทอแสงให้ความสว่างในชีวิตแก่สรรพสัตว์ทั้งปวงโดยไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง พระพุทธองค์เสด็จมาเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษยชาติและสรรพสัตว์ทั้งหลาย

       วันวิสาขบูชาเป็นวันที่พวกเราเหล่าพุทธบริษัทควรจะได้ชักชวนชาวโลกให้มาเจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงหนทางการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่วันแรกจนวันสุดท้าย หันมาศึกษาหลักธรรมที่ทรงประทานไว้ เป็นดังประทีปธรรมนำทางชีวิตที่ถูกต้องไปสู่สวรรค์นิพพาน เราทั้งหลายจะได้มาร่วมกันนั่งสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรม ทุกท่านควรจะหาโอกาสได้ไปจุดประทีป เดินเวียนประทักษิณรอบพุทธเจดีย์ที่ตนเคารพนับถือเพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ให้ภายนอกได้สว่างด้วยแสงเทียน ภายในสว่างด้วยแสงธรรม


หลักธรรมที่สำคัญในวันวิสาขบูชา ที่ควรนำมาปฏิบัติ

        ในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่

    1. ความกตัญญู คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ
    ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป

    2. อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ใน วันวิสาขบูชา ได้แก่
     ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น
     สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่าง ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
     นิโรธ คือ ความดับทุกข์เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไปเพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้
     มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ

    3. ความไม่ประมาท คือ การมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ

        วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์  อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิต




https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wisakha/1413254279-p1GIF-o.gif


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงประทานพระคติธรรมเนื่องใน
วันวิสาขบูชา พุทธศักราช 2564

กิจกรรมในวันวิสาขบูชา
 กิจกรรมของโรงเรียน ในสังกัด  สพป.นครปฐม เขต 2
2562 > คลิก
2561 > คลิก

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติ
ในวันวิสาขบูชา ได้แก่
1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์

ช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด

- ทดสอบความรู้เกี่ยวกับวันวิสาขบูชาด้วยทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่อง VisaKha Bucha Day จัดทำโดย สพป.นครปฐม เขต 2 > คลิก 
- "เวียนเทียนออนไลน์" วิถีใหม่ ทุกศาสนาฝ่าวิกฤตยุค COVID ระบาด > คลิก
- ร่วมจุดประทีป เวียนเทียน Online IBS2564 > คลิก
- ร่วมกิจกรรมเยาวชนอาสาทั่วไทย รวมใจสร้างสรรค์ทำความดี(ออนไลน์) Youth R-SA Online Project > คลิก 
ปลูกป่าออนไลน์ forestapp.cc
- กิจกรรมจิตอาสาออนไลน์ > คลิก
- ร่วมกิจกรรมเยาวชนอาสาทั่วไทย รวมใจสร้างสรรค์ทำความดี(ออนไลน์) Youth R-SA Online Project > คลิก 
- ฟังธรรม ออนไลน์ 
- ทำบุญ สร้างกุศล ออนไลน์ 

    "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wisakha/b0320copy.jpg?attredirects=0
     นี้เป็นปฐมพระวาจา ของเจ้าชายสิทธัตถะ สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงประสูติจากครรภ์พระมารดา ณ สวนลุมพินีวัน ใต้ต้นสาละ หลังจากทรงพระดำเนิน 7 ก้าว มีดอกบัวสวรรค์ รองพระบาท ทุกย่างที่ก้าวไป
https://sites.google.com/a/hi-supervisory5.net/npt2/theskal/wisakha/P_5_6.jpg?attredirects=0
    นี่เป็นความจริง 4 ประการ ที่ส่งผลให้พุทธองค์ตรัสรู้ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4


     นี่เป็นปัจฉิมวาจาของพุทธองค์ 
"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักเตือนเธอว่า สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด


Comments